02 149 5555 ถึง 60

 

ทำไมโควิดมีพิษภัยร้ายกว่าไข้หวัด

ทำไมโควิดมีพิษภัยร้ายกว่าไข้หวัด

คนจำนวนไม่น้อยคิดว่า “โควิดเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา ” ในช่วงต้นของการระบาดผู้นำประเทศหลายท่านก็คิดแบบนี้ และไม่ได้คิดหาทางป้องกันอย่างจริงจัง

ทั้งนี้เป็นเพราะโรคโควิดเกิดจาการติดเชื้อไวรัสโคโรนากลุ่มเดียวกับที่ทำให้เกิดไข้หวัด แถมยังมีอาการคล้ายไข้หวัด และมักหายได้เองเป็นส่วนใหญ่โดยการดูแลรักษาตามอาการแบบเดียวกันกับไข้หวัดใหญ่ โดยการดูแลรักษาตามอาการแบบเดียวกับไข้หวัดใหญ่

ปัจจุบันมีข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับโรคนี้มากกว่าเดิมฉบับนี้ จึงขอทบทวนและสรุปประเด็นที่น่ารู้ของโรคโควิดอีกรอบ

กำเนิดโรคโควิด -19

คำว่า “โควิด -19 ” มาจากภาษาอังกฤษว่า.. COVID -19” ซึ่งย่อมาจาก” Corona virus disease 2019” หรือ “โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ 2019” จึงนิยมเรียกว่า” โรคโควิด -19” หรือ “โรคโควิด” โรคนี้มรรายงานการระบาดครั้งแรกที่นครอู่ฮั่นเมื่อปลายปี 2019 และทางจีนเรียกชื่อโรคว่า”โรคปลอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” และพบว่าเกิดจากไวรัสที่กลายพันธุ์มาจากไวรัสกลุ่มโคโรนาซึ่งแต่เดมมีอยู่ 4 สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดไข้หวัดมานานนมและไม่มีอันตรายร้ายแรง เนื่องเพราะมันอุบัติมานานจนพลโลกมีภูมิคุ้มกันกันเป็นส่วนใหญ่แล้ว แต่เนื่องจากพลโลกยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัส สายพันธุ์ใหม่นี้จึง ทำให้โรคโควิด – 19 เป็นโรคติดเชื้อที่รุนแรง

ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ 2019 นี้ มีชื่อเป็นทางการว่า “Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2” เรียกชื่อว่า SARS- CoV-2” บางคนนิยมเรียกเล่นๆว่า เชื้อโควิด

โควิดแพร่กระจายรุนแรงกว่าไข้หวัด

เหตุผลก็คิอ

1. โควิดระยะมีระยะฟักตัว (ระยะตั้งแต่ติดเชื้อจนมีอาการเจ็บป่วย) 2-14 วัน ในขณะที่ไข้หวัดมีระยะฟักตัวเพียง 1-3 วัน จึงมีโอกาสแพร่เชื้อได้นานกว่า

2. เชื้อโควิดสมารถแพร่ได้ตั้งแต่ 48 ชั่วโมงก่อนมีอาการ และแม้ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ(พบได้ราวร้อยลพ 20-30 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด) ก็สามารถแพร่เชื้อได้ ซึ่งพบว่าการติดเชื้อราวครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) เป็นการติดเชื้อมาจากผู้ที่ไม่แสดงอาการ

3. ช่องทางการแพร่เชื้อ นอกจากผ่านทางฝอยละอองเสมหะขนาดใหญ่ ในระยุไม่เกิน 1 เมตร (ซึ่งป้องกันด้วยการเว้นระยะห่าง)และผ่านการสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อแปดเปื้อน (ซึ่งป้องกันด้วยการล้างมือ แบบเดียวกับไข้หวัดแล้ว ยังมีช่องทางแพร่เชื้อมากว่าไข้หวัด

อีกทางหนึ่งกล่าวคือ ในสถานที่หรืห้องที่ปิด ติดเครื่องปรับอากาศ (แอร์) หรืออากาศไม่ถ่ายเท เชื้อโควิดสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานและแพร่ออไปไกลกว่า 1 เมตร(ซึ่งป้องกันด้วยการใส่หน้ากากอนามัย

4. เช้อโควิดมีการกลายพันธุ์ง่าย ซึ่งบางชนิด(เช่น เชื้อกลายพันธุ์ที่พบในอังกฤษ) แพร่โรคได้มากขึ้น และทำให้เป็นโรคโควิดที่ รุนแรงมากขึ้น

โควิดมีอันตรายมากกว่าไข้หวัด

แม้ว่าผู้ป่วยโควิดส่วนใหญ่(ราวร้อยละ 80)มีอาการเพียงเล็กน้อย และหายเองได้ แต่ส่วนน้อยมีอาการรุนแรง คือหลังมีไข้ ไอ ได้ราว หนึ่งสัปดาห์ อาจเกิดปอดอักเสบหรืภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงอื่นๆ ตามมา และมีอัตราตายโดยเฉลี่ยร้อยละ 2 ของผู้ป่วยทั้งหมดผู้ที่มีอาการรุนแรง มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ได้แก่ ผู้สูงอายุ (มากกว่า 60 ปีขึ้นไป) คนอ้วนหรือมีน้ำหนักมากเกิน ผู้ที่กินยากภูมิคุ้มกัน ผู้ที่สูบบุหรี่หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคระบบประสาท และสมอง โรคทางเดินหายใจเรื้อรังโรคไตเรื้อรัง โรคตับเรื้อรัง เอดส์ มะร็ง เป็นต้น

2. ผู้ป่วยโรคโควิดอาจเกิด “กลุ่มอาการโควิดเรื้อรัง. (chronic COVID- syndrome) ซึ่งพบได้ราวร้อยละ 10-35 ของผู้ป่วยทั้งหมดพบได้ทั้งในผู้ติดเชื้อทีมีอาการรุนแรงอาการเล็กน้อยและไม่มีอาการ มักพบในผู้ป่วยที่สูงอายุ ผู้ป่วยที่โรคเรื้อรัง แต่ก็อาจพบได้ในผู้ป่วยที่อายุ

อายุน้อยและแข็งแรงดีมาก่อน แม้ว่าจะได้รับการดุแลรักษาจนหายและตรวจไม่พบเชื้อแล้ว แต่ก็ยังอาจมีอาการผิดปกติอย่างต่อเนื่องนานหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน อาการที่พบบ่อยได้แก่ อ่อนล้า กล้ามเนื้อไม่มีแรง หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย ไอ ปวดข้อ เจ็บหน้าอก นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ เห็นบ้านหมุน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ใจเต้นเร็วหรือใจสั่น จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส มีไข้ต่ำ ผมร่วง มีผื่นตามตัว ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม ความคิดสับสน

มีความวิตกกังวล อารมณ์ซึมเศร้า นอนไม่หลับ เป็นต้น บางรายมีอาการมากจนต้องนั่งรถเข็น หรือต้องให้ออกซิเจนช่วยในการหายใจ สันนิษฐานว่า ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นอาการที่ตกค้างมาแต่แรก อีกส่วนหนึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับอาการที่เกิดจากอวัยวะต่างๆ(เช่น ปอด หัวใจ สมอง) ถูกเชื้อโควิดทำลาย รวมทั้งอาจเกิดจากผลกระทบต่อจิตใจผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับโรคที่รุนแรงและต้องอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาลนานๆ สำหรับกลุ่มอาการโควิดเรื้อรัง แพทย์จะทำการรักษาตามอาการและติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง คาดว่าอาการบางอย่าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดจากอวัยวะถูกทำลาย) อาจเป็นปีหรือมากกว่า

-กลุ่มอาการโควิดเรื้อรังพบได้ทั้งในผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงอาการเล็กน้อยและไม่มีอาการ

-ภาวะแทรกซ้อนของโรคโควิด เนื่องจากเชื้อโควิดกระตุ้นให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาอักเสบที่รุนแรง ส่งผลกระทบต่ออวัยวะหลายระบบ ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง อาทิ ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง ได้แก่ ปอดอักเสบชนิดร้ายแรง กลุ่มอาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ภาวะโลหิตเป็นพิษ ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ โรคหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว โรคเลือดและหลอดเลือด เช่น ภาวะหลอดเลือดฝอยมีลิ่มเลือด ซึ่งอาจพบในหัวใจ ปอด ตับ ไต,ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย,ภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดดำ โรคระบบประสาทและสมอง (ตีบและแตก) อัมพาตครึ่งซีก เป็นต้น โรคตับ โรคไต ตับวาย ไตวาย ในเด็กอาจเกิดกลุ่มอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ (multisysten inflammatory syndrome)

-บทสรุป โรคโควิดซึ่งดูคล้ายไข้หวัดแต่มีพิษร้ายกว่ามากมายนั้น คาดว่ายังต้องใช้เวลาอีกนานเป็นแรมปีกว่าจะหยุดระบาดได้ ดังนั้น ทุกคนต้องยกการ์ดสูงไว้ ด้วยการฟิตร่างกายและจิตใจ อยู่ห่างไว้ใส่หน้ากากอนามัย(แมสก์) กัน และหมั่นล้างมือ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนอายุน้อย ซึ่งเมื่อติดเชื้อโควิดแล้วมักมีอาการเพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่มีอาการใดๆ เลยก็ได้ ก็จงอย่าได้ประมาทเพราะแม้ว่าอาจได้รับอันตรายน้อยกว่าผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังก็ตาม ก็ใช่ว่าจะปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือกลุ่มอาการโควิดเรื้อรังได้เหมือนกัน ที่สำคัญ เมื่อติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว เพราะไม่แสดงอาการ ก็เป็นพาหะนำเชื้อมาให้ญาติผู้สูงอายุในบ้านและละแวกบ้าน เกิดอันตรายร้ายแรงต่อคนเหล่านี้ได้อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์

วารสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 42, ฉบับที่ 503 มีนาคม 2564

Posted by STY/Lib

23 April 2564

By STY/Lib

Views, 92696

 

Preset Colors