02 149 5555 ถึง 60

 

20 มีนาคม วันความสุขสากล

20 มีนาคม วันความสุขสากล

เนื่องในวันนี้ถือเป็นวันความสุขสากล หรือ International Day of Happiness ซึ่งองค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็น ได้กำหนดให้ทุกวันที่ 20 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันแห่งความสุขสากล ทั้งนี้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 เป็นต้นมา เพื่อหวังให้ประชาชนทั่วโลกมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างมีความสุข ในปี ค.ศ. 2015 องค์การสหประชาชาติจึงได้รณรงค์กำหนดเป้าหมาย 17 ด้าน โดยภายในปี ค.ศ. 2030 ประชากรโลกจะสามารถมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขอย่างยั่งยืน โดยการหยุดยั้งความยากจน ลดความไม่เท่าเทียม และปกป้องโลกของเรา คือสามประเด็นสำคัญที่จะนำพาประชากรโลกไปสู่ความสุขอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ในปี 2019 นี้องค์การสหประชาชาติจึงขอเชิญชวนประชาชนทุกคน ตั้งแต่นักเรียน นักธุรกิจ และรัฐบาลร่วมรณรงค์วันแห่งความสุขสากล

ซึ่งในปีนี้กรมสุขภาพจิตในฐานะผู้รับผิดชอบดูแลสุขภาพจิตของประชาชนไทย เพื่อให้ประชาชนทุกวัยมีความสุขในชีวิตประจำวัน จึงได้จัดนิทรรศการความสุขขึ้น ที่อาคาร 1 ชั้น 1 กรมสุขภาพจิต โดยในงานจะประกอบไปด้วย นิทรรศการความสุข การเสวนาวิชาการ ฯลฯ รวมไปถึงการออกนิทรรศการที่สถานีรถไฟฟ้าเซ็นทรัลเวสท์เกตท์ จ.นนทบุรี ท่านที่สนใจสามารถไปเยี่ยมชมได้ตามที่อยู่ที่ดังกล่าวนี้ โดยนิทรรศการทั้งหมดจัดขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม 2562 นี้ ตั้งแต่ 8.30-16.30 น.

แผนที่ความสุขสากล ประเทศไทยอยู่อันดับ 46 จาก 156 ประเทศในโลก

ทั้งนี้ข้อมูลที่เผยแพร่นี้ เป็นข้อมูลในปี 2018 โดยในวันที่ 20 มีนาคม 2019 ทางทีมผู้วิจัยจะทำการเผยแพร่ข้อมูลใหม่ ปี 2019 ซึ่งเราชาวกรมสุขภาพจิตจะได้ติดตามข้อมูลมานำเสนอในคราวต่อไปค่ะ

ภาพประกอบ แผนที่ความสุขสากล ปี 2018 เป็นข้อมูลล่าสุดในขณะนี้

Report

จากแผนที่ความสุขสากลที่เผยแพร่ โดยเป็นข้อมูลในรายงาน 2018 World Happiness Report. ซึ่งถือเป็นข้อมูลล่าสุด ที่เผยแพร่ทางเวปป์ไซท์วิกกิ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2018 ซึ่งเป็นการสำรวจข้อมูลระหว่างปี ค.ศ. 2015-2017 John F. Helliwell และคณะ ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิชาการอิสระอันประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ผู้นำชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกลางเพื่อการพัฒนาโลก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และสถาบันวิจัยของแคนาดา CIFAR (Canadian institute for advances reaearch) เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์

ซึ่งข้อมูลผลการสำรวจแสดงบนแผนที่ภูมศาสตร์สนเทศ (GIS) แสดงข้อมูลความสุขรายประเทศตามสี โดยมีสีเขียวเข้ม แสดงคะแนนความสุขที่ดีที่สุด นั่นคือมีค่าคะแนนมากว่า 7 (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) และสีเขียวจางแสดงความสุขต่ำสุด คือมีค่าคะแนนต่ำกว่า 3 และพื้นที่สีขาวบนแผนที่แสดงว่าไม่มีข้อมูล

ทั้งนี้ข้อมูลรายละเอียดคะนนความสุขรายประเทศพบว่า ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ครองแชมป์ สามอันดับแรกของโลก จากข้อมูล 156 ประเทศ โดยมี ฟินแลนด์ (7.632) นอร์เวย์ (7.594) และ เดินมาร์ค (7.555) และประเทศที่มีค่าคะแนนต่ำสุด ในแถบอาฟริกา ประกอบไปด้วย ประเทศซูดานใต้ (South Sudan) มีคะแนนอยู่ 3.254 ประเทศสาธารณรัฐอัฟกันกลาง (Central African Republic) มีค่าคะแนน 3.083 และประเทศเบอรุนดี มีค่าคะแนนต่ำสุดในโลก อยู่ที่ 2.905 ทั้งนี้ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 46 มีค่าคะแนนอยู่ที่ 6.072 อย่างไรก็ตามในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกด้วยกัน มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ ไต้หวัน มีค่าคะแนน 6.441 สิงคโปร์ มีค่าคะแนนอยู่ที่ 6.343 และมาเลย์เซีย มีค่าคะแนนอยู่ที่ 6.322 ซึ่งสูงกว่าประเทศไทย แต่ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่น อยู่อันดับที่ 54 มีค่าคะแนน 5.915 เกาหลี อยู่อันดับที่ 57 มีค่าคะแนนอยู่ที่ 5.875 อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า ประเทศภูถาน ซึ่งถือเป็นผู้นำด้านความสุขและถือเป็นนโยบายของประเทศ กลับได้อยู่ในอันดับที่ 97 มีค่าคะแนนเท่ากับ 5.082 เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป

จากรายงานการสำรวจของทีมนักวิชาการอิสระชุดนี้ เป็นข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่กลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายได้นำเสนอเพื่อเป็นข้อมูลต่อผู้เกี่ยวข้องในการนำไปใช้ที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม การสำรวจข้อมูลความสุขโลกครั้งนี้ ข้อมูลการสำรวจได้มากจาก Gallup World Poll ที่ได้สำรวจข้อมูลความเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกระหว่างปี ค.ศ. 2005-2008 และ 2015-2017 เปรียบเทียบให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของความสามารถของบุคคลในการดำรงชีวิตให้เป็นสุข (personal capacities) ของประชากรในโลก โดยข้อมูลการสำรวจครั้งล่าสุดที่แสดงภาพข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ได้มุ่งให้ความสำคัญกับ 6 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1. การมีความเป็นอยู่ดี (Well-being) 2. รายได้ (Income) 3. Health life expectancy 4 การได้รับการช่วยเหลือจากสังคม (Social support) 5. ความเป็นอิสระ (Freedom) และ 6. ความไว้เนื้อเชื่อใจและความเอื้ออาทร (Trust and Generosity)

ประเมินความสุขของแต่ละบุคคลออนไลน์ได้ที่นี่

ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจที่จะประเมินความสุขของตนเอง กรมสุขภาพจิตมีแบบประเมินความสุขคนไทย ฉบับ 15 ข้อ โดยเป็นแบบประเมินที่สามารถทำได้้ด้วยตนเองออนไลน์ มีผลการแปรผลค่าคะแนนให้ท่านทราบระดับความสุขของท่าน เปรียบเทียบกับค่าปกติมาตรฐาน คลิกลิงก์ด้านล่างนี้ค่ะ

แบบประเมินความสุขคนไทย ฉบับสั้น 15 ข้อ

แหล่งข้อมูล

1. http://www.un.org/en/events/happinessday/

2. http://worldhappiness.report/ed/2018/

3. https://en.wikipedia.org/wiki/World_Happiness_Report 2018/media/

19 March 2562

By nitayaporn.m

Views, 2413

 

Preset Colors