02 149 5555 ถึง 60

 

Suicidal identification: ด้วยการตรวจสแกนสมอง

เพียงคิดฆ่าตัวตาย แพทย์ก็สามารถวินิจฉัยได้ทันที โดยไม่ต้องซักประวัติผู้ป่วย

Suicidal Thought-identification Study.

เร็วๆนี้มีงานวิจัยที่เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียุค 4.0 ที่เผยแพร่ในวารสารเทคโนโลยีทางการแพทย์ "มี 10 ประเด็นที่เรายังไม่รู้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา" มี 1 ในประเด็นสำคัญและน่าสนใจ นั่นคือ "เทคโนโลยีด้านการวินิจฉัยหาความเสี่ยงฆ่าตัวตายในผู้ที่คิดฆ่าตัวตาย" ด้วยวิธีทันสมัย เพื่อตามโลกให้ทัน....มาดูกันค่ะ

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการวินิจฉัย เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อันดับสองของกลุ่มเยาชนของสหรัฐ ล่าสุดได้รับการเปิดเผยจากโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน (Carnegie Mellon U) สหรัฐอเมริกา ในเวปป์ไซท์ วารสารทางการแพทย์ Technology networks เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2018 ได้กล่าวถึงความคืบหน้าการศึกษาวิจัย เพื่อตรวจวินิจฉัยหาความเสี่ยงผู้ที่คิดฆ่าตัวตาย โดยใช้เครื่องสแกนสมองแบบละเอียด fMRI (Functional MRI คือการตรวจเพื่อหาตําแหน่งการทํางานของสมอง เช่น การตรวจการทํางานของสมองส่วน ที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น Motor cortex ส่วนรับความรู้สึก Sensory cortex ส่วนความจํา และภาษา ฯลฯ โดยอาศัยการทำงานของประจุไฟฟ้าขนาดเล็ก เพื่อตรวจจับหาบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนระหว่างเซลล์ในสมอง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าบริเวณดังกล่าวของสมองมี activity แสดงบนจอมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์) จะทำให้สามารถศึกษาหาความเสี่ยงคิดฆ่าตัวตายของบุคคลได้อย่างแม่นยำทันท่วงที ด้วยทุนกว่าสี่ล้านเหรียญสหรัฐ ที่รัฐบาลสหรัฐโดยสถานบันสุขภาพจิตแห่งชาติให้การสนับสนุนนักวิจัย

นักวิจัยชื่อ Marcel Just จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน และ David A. Brent จากมหาวิทยาลัยพิตท์เบิร์ค ผู้ได้รับทุนจากสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (NIMH) เป็นระยะเวลา 5 ปี คิดเป็นมูลค่ากว่า 3.8 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยได้ทำการศึกษาการทำงานของสมองโดยใช้ภาพสแกน fMRI ในกลุ่มเสี่ยงฆ่าตัวตาย ซึ่งทุนการศึกษาดังกล่าวได้รวมถึงงานวิจัยก่อนหน้านี้ของ Brent ที่ได้มีการศึกษาเรื่อง มาร์คเกอร์ทางประสาทวิทยาในผู้ที่มีความคิดฆ่าตัวตายและผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว ซึงเป็นการศึกษาต่อเนื่องจากงานวิจัยที่ได้เผยแพร่ในปี 2016

ซึ่งงานวิจัยดังกล่าว จะศึกษาเปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการทำงานของสมองในกลุ่มวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมคิดฆ่าตัวตายและผู้ที่ไม่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย อาทิเช่น ท่าทีเชิงยอมรับและเชิงปฏิเสธ เป็นต้น โดยใช้ machine learning techniques ซึ่งเป็นเทคนิคทางวิศวกรรมซอฟท์แวร์แบบใหม่ยุค 4.0

การทำงานแบบเดิมๆ ของซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์คือ การใส่ input/program เพื่อให้ได้ output แต่ในเทคนิคแบบใหม่ยุค 4.0 นี้เป็นการใส่ inputs/outputs เพื่อให้ได้ program ออกมา ซึ่งเทคนิคแบบนี้เป็นการสร้างการเรียนรู้ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เรียนรู้หาความสัมพันธ์ของข้อมูลเอง เป็นการทำงานที่โดยอาศัยข้อมูลจำนวนมากและไม่แน่นอนตายตัว ถือเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอีกขั้นหนึ่ง ทั้งนี้นักวิจัยนำระบบนี้มาจำแนกการทำงานของระบบประสาทสมอง เพื่อหาความเสี่ยงทั้งด้านความคิดและพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย โดยไม่ต้องซักประวัติผู้ป่วย (ซึ่งบางรายสามารถปฏิเสธได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการรับความช่วยเหลือ)

D.O. Hebb ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา ในฐานะหัวหน้าภาควิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลอน กล่าวว่า การศึกษามุ่งนี้ไปที่การหารูปแบบการทำงานของสมองขณะที่บุคคลมีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย และตรวจจับหาภาพแบบเรียลไทม์ในจุดที่เซลล์ประสาทสมองทำงานอย่างทันที ด้วยเครื่องแสกนภาพ FMRI (Functioal magnetic resonance Imaging) ซึ่งสามารถบอกได้ทันทีว่าบุคคลที่กำลังมีความคิดฆ่าตัวตาย มีรูปแบบการทำงานที่สามารถบ่งชี้ลงไปในรายละเอียดได้ อาทิเช่น ไม่ว่าบุคคลนั้นกำลังคิดถึงปัญหาที่ประสบอยู่ (ซึ่งนำไปสู่ความคิดฆ่าตัวตาย) หรือ คิดเรื่องความตายแบบผิดธรรมชาติ ซึ่งก่อนหน้านี้การศึกษาได้สามารถแยกแยะความแตกต่างของภาพแบบพื้นฐาน (การแยกความแตกต่างแบบภาพรวม เช่น แยกว่าเป็นกล้วย หรือค้อน เป็นต้น) ที่แสดงความแตกต่างของบุคคลที่กำลังคิดอย่างฆ่าตัวตายได้แล้ว ซึ่งหากงานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จก็จะสามารถทราบรูปแบบที่ละเอียดมากขึ้นของการทำงานของสมองขณะคิดเรื่องฆ่าตัวตาย

ซึ่งโครงการดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการหาความเสี่ยงของภาพสแกนพฤติกรรมฆ่าตัวตายของบุคคล (Predicting Risk Imaging Suicidal Minds (PRISM)) ของเบรนท์ในปี 2017 ที่ได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยก่อนหน้านี้เน้นกลุ่มเสี่ยงที่ขนาดกลุ่มตัวอย่างไม่มากนัก ในขณะที่การศึกษาใหม่นี้จะมีขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น ทั้งนี้อาจจะรวมถึงผู้ป่วยทางจิตชนิดอื่นด้วย

ซึ่งโครงการดังกล่าวหากประสบความสำเร็จจะช่วยให้แพทย์ผู้เกี่ยวข้องสามารถ

1. หาความเสี่ยงส่วนบุคคลนำไปสู่การป้องกันแก้ไขอย่างทันท่วงที

2. เข้าใจสภาพความเป็นจริงของการเปลี่ยนแปลงในความคิดและความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย และ

3. พัฒนากลยุทธ์การรักษาเฉพาะบุคคลสำหรับผู้ป่วยฆ่าตัวตายโดยอาศัยรูปแบบการทำงานของสมองขณะที่บุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยง มีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย ได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นายแพทย์เดวิท เบรนท์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นพิตส์เบิร์ก กล่าวว่า "การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุสำคัญอันดับที่สองของสาเหตุการตายในหมู่เยาวชนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งวิธีการประเมินในปัจจุบันขึ้นอยู่กับการรายงานด้วยตนเองของผู้ป่วยเองและการสังเกตของแพทย์ ด้วยวิธีเทคโนโลยีแบบใหม่ทันสมัย การสแกนภาพการทำงานของสมอง เพื่อหารูปแบบการทำงานแบบเรียลไทม์ขณะมีความคิดฆ่าตัวตาย เป็นวิธีการใหม่เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ดีขึ้นมีศักยภาพในการช่วยชีวิตผู้รอดชีวิตได้"

ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ของโรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลอนสหรัฐอเมริกา (Carnegie Mellon University)

ปัญหาฆ่าตัวตาย เป็นวิกฤตสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิตเวชที่สามารถป้องกันได้ ผู้เกี่ยวข้องในทั่วทุกมุมโลกจึงได้พยายามศึกษาหาแนวทางใหม่ ยุค 4.0 เป็นยุคที่นำด้วยเทคโนโลยี ถือเป็นงานวิจัยล่าสุดที่ได้เผยแพร่ในวารสารเทคโนโลยีทางการแพทย์ ใน 10 ประเด็นที่พวกเรายังไม่รู้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาค่ะ

แหล่งข้อมูล

10 Things We Didn't Know Last Week - 31 August 2018

https://www.technologynetworks.com/diagnostics/news/38m-nimh-grant-to-diagnose-suicidal-thinking-using-brain-imaging-308336

11 September 2561

By nitayaporn.m

Views, 4168

 

Preset Colors