02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้หญิงต้องระวัง "ภาวะลองโควิด" เจอเพิ่มอีก 1 อาการ

ผู้หญิงต้องระวัง "ภาวะลองโควิด" เจอเพิ่มอีก 1 อาการ

โควิดไม่ติดซะยังดีกว่า "ภาวะลองโควิด" เจอเพิ่มอีก 1 อาการ ผลวิจัยพบ แค่หนูยังเป็นมากถึง 25% หลังติดเชื้อ 2 สัปดาห์

ติดโควิดคิดว่าหาย ไม่ใช่เรื่องจริงอีกต่อไป หลังจากเมื่อหายจากอาการป่วย หรือหายจากการติดเชื้อแล้ว สิ่งที่ส่วนใหญ่มักกังวลต่อ คือเรื่องของการเกิด "ภาวะลองโควิด" Long COVID ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่หายจากการติดเชื้อเป็นส่วนใหญ่

โดย "ภาวะลองโควิด" Long COVID คือ อาการทางร่างกายและทางจิตใจ ที่หลงเหลืออยู่ หลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 อาจเป็นผลกระทบทางตรงจากร่องรอยของโรค หรือเป็นผลกระทบทางอ้อมที่มาจากช่วงที่เคยติดเชื้อก็ได้

กลุ่มอาการลองโควิด (Long Covid) "ภาวะลองโควิด" เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโควิด หลังจากได้รับเชื้อนาน 4 สัปดาห์ ไปจนถึง 12 สัปดาห์ขึ้นไป

มีอาการแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่มักจะพบในผู้ป่วยที่เชื้อลงปอด และมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และบางครั้งก็พบมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล อาการหลัก ๆ ที่พบคือ

อ่อนเพลีย

หายใจไม่เต็มอิ่ม ทำกิจกรรมปกติได้ลดลง เหนื่อยง่ายขึ้น

ภาวะสมองเสื่อม เช่น ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อในสิ่งที่จะทำ ความจำลดลง มีปัญหาการนอนหลับ ความสามารถในการควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมลดลง

นอกจากนี้ ยังพบอาการอื่นอีก เช่น

ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมองอุดตัน ลิ่มเลือดอุดตันในอวัยวะต่างๆ

ปวดหู หรือ มีเสียงในหู

ปวดท้อง ท้องเสีย กินอาหารได้น้อยลง

ชา ปวดกล้ามเนื้อและข้อ

ไม่ได้กลิ่น รับรสได้ไม่ดี

ผื่นตามตัว ผมร่วง

รอบประจำเดือนมาไม่ปกติ

มีไข้ ไอ ปวดหัว เจ็บคอ

เวียนศีรษะ

อาจมีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล

และที่น่าสนใจพบว่า "ภาวะลองโควิด" ยังมีผลต่อการสร้างมวลกระดูกที่ลดลงด้วย โดยคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยอินเดียน่า พบว่าหนูทดลองที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดการสูญเสียมวลกระดูกได้มากถึง 25% ภายในสองสัปดาห์หลังจากการติดเชื้อ ทำให้เรารู้ว่าภาวะการติดเชื้อโควิด-19 อาจทำให้ผู้ติดเชื้อสูญเสียมวลกระดูกได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าการติดเชื้อจะมีอาการไม่รุนแรงก็ตาม มวลกระดูกที่ลดลง มักเกิดพร้อมกับโรคกระดูกพรุนทำให้กระดูกเปราะและแตกหักได้ง่าย

กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อภาวะโรคกระดูกพรุน

กลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อ โควิด-19 ได้ง่ายและแนวโน้มจะเกิดการแทรกซ้อนจากโรคกระดูกพรุน

กลุ่มเด็กที่ติดเชื้อ โควิด-19 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการสร้างมวลกระดูกมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในระยะยาว

ผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อหายแล้วอาจเจอ "ภาวะลองโควิด" เหล่านี้ตามมาได้ จึงควรหมั่นสังเกตตัวเอง หากมีความผิดปกติ หรือมีข้อสงสัยอย่าปล่อยให้มีอาการรุนแรง รีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที

3 May 2565

ที่มา คม-ชัด-ลึก

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 356

 

Preset Colors