02 149 5555 ถึง 60

 

เปรียบเทียบอาการโควิดโอมิครอน ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

เปรียบเทียบอาการโควิดโอมิครอน ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

รู้หรือไม่ว่าโรคระบาดที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ไม่ได้มีแค่โควิดสายพันธุ์โอมิครอนเท่านั้น แต่ยังมีโรคไข้เลือดออก และไข้หวัดใหญ่อีกด้วย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าป่วยเป็น 1 ใน 3 โรคนี้หรือเปล่า อาการเหมือนหรือต่างกันอย่างไร สามารถเปรียบเทียบได้ที่นี่

โควิดโอมิครอน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้โควิดกลับมาระบาดอีกครั้งจนมียอดผู้ติดเชื้อถึงหลักหมื่นรายต่อวัน ซึ่งการระบาดครั้งนี้มาจากสายพันธุ์โอมิครอนเป็นหลัก และพบว่าผู้ติดเชื้อโควิดโอมิครอนเกือบ 50% ไม่มีอาการ ส่วนอาการที่พบเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่

มีไข้

ไอ เจ็บคอ

ปวดกล้ามเนื้อ

มีน้ำมูก

ปวดศีรษะ

หายใจลำบาก

ได้กลิ่นลดลง

โดยส่วนมากแล้วการติดเชื้อโควิดโอมิครอนจะเป็นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนไม่ได้ลงปอด จึงทำให้อาจพบเจอผู้ป่วยเหล่านี้ปะปนกับคนทั่วไปในที่สาธารณะได้ง่าย แม้ว่าจะมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดแล้วก็ยังสามารถติดเชื้อได้แต่ช่วยลดความรุนแรงของอาการลงไปได้มาก ดังนั้นจึงควรป้องกันตนเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัย 2 ชั้น ล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ เพื่อเสริมการป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โรคไข้เลือดออก

หลังจากเงียบหายไป 2 ปี เพราะโควิดทำให้คนอยู่ดูแลบ้านจึงกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายไปได้มากขึ้น แต่ปีนี้โรคไข้เลือดออกกลับมาระบาดอีกครั้งเพราะคนเริ่มออกจากบ้านจนการป้องกันลดลง แต่อาการของไข้เลือดออกจะเป็นอย่างไร สามารถสังเกตได้ดังนี้

มีไข้สูงแบบเฉียบพลัน และต่อเนื่องเป็นเวลา 2-7 วัน

ปวดศีรษะ

ปวดเมื่อยตามตัว

ส่วนใหญ่มีอาการหน้าแดง

อาจมีจุดแดงเล็กๆ ขึ้นตามลำตัว แขน ขา

ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก

มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

ปวดท้องและเบื่ออาหาร

หากพบว่ามีอาการไข้ลดลงอย่าเพิ่งชะล่าใจ เพราะทำให้เกิดภาวะช็อกจนกระทั่งเสียชีวิตได้ หรือถ้ามีไข้สูงต่อเนื่องกว่า 2 วัน แม้จะเช็ดตัวหรือทานยาลดไข้แล้วก็ไม่ดีขึ้น ให้สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกไว้ก่อนแล้วควรนำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจอาการและรักษาได้ทันท่วงที

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) เป็นเชื้อที่พบมานานแล้ว อาการมักจะไม่รุนแรง และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่างๆ ทั่วไป อาการทั่วไปคล้ายกับโควิดค่อนข้างมาก ในระยะเริ่มต้นของอาการป่วยลักษณะนี้ เวลาที่ไปพบแพทย์ แพทย์จะทำการส่งตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่ก่อนอันดับแรก เพื่อตัดประเด็นความคล้ายคลึงกันของอาการออกไป

มีไข้สูงเกิน 38 องศาฯ

ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก

ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น

เบื่ออาหาร

คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ

บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

อย่างไรก็ตาม โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง สามารถฉีดได้ทุกเพศทุกวัย ในเด็กสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน ส่วนผู้หญิงตั้งครรภ์สามารถฉีดเพื่อป้องกันลูกน้อยที่เพิ่งคลอดยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะฉีดวัคซีนได้

18 February 2565

ที่มา ไทยรัฐ

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 1003

 

Preset Colors