02 149 5555 ถึง 60

 

บูลลี่ (Bully) คืออะไร มีกี่ประเภท วิธีที่จะรับมือจากการโดนบูลลี่

บูลลี่ (Bully) คืออะไร มีกี่ประเภท วิธีที่จะรับมือจากการโดนบูลลี่

บูลลี่ (Bully) คือ การกลั่นแกล้งที่แสดงออกด้วยคำพูด หรือ พฤติกรรมที่ก้าวร้าวต่อผู้อื่น ซึ่งมักเกิดขึ้นในสังคมที่มีช่องว่างระหว่างผู้ที่มีพละกำลัง หรืออำนาจมากกว่าแสดงออกแก่ผู้ที่อ่อนแอกว่า และมีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำๆ โดยพบการบูลลี่ในโรงเรียน และในที่ทำงานมาก นำไปสู่ปัญหาสภาพทางจิตใจ ที่ร้ายแรงได้ในอนาคต

ลักษณะการบูลลี่ในโลกที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ประกอบด้วย 2 เงื่อนไขต่อไปนี้

1. การใช้กำลังกลั่นแกล้ง ด้วยการแสดงออกจากกลุ่มเด็กที่มีอำนาจ หรือมีพละกำลังที่แข็งแรง ด้วยการใช้กำลังทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกอับอายในที่สาธารณะ ด้วยการกลั่นแกล้งที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ได้ตลอดเวลา

2. เกิดขึ้นซ้ำ ด้วยพฤติกรรมกลั่นแกล้งที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า 1 ครั้ง

การกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นรวมการกระทำทางร่างกาย และการข่มขู่ รวมถึงการปล่อยข่าวลือทางวาจาและใน Social Media

บูลลี่มีกี่ประเภท

การบูลลี่มี 3 ประเภท ดังนี้

การกลั่นแกล้งทางวาจา (Verbal Bullying) คือ การสื่อสาร เขียน เพื่อสื่อความหมายกลั่นแกล้ง เช่น ล้อเล่น, เรียกชื่อ, แสดงความคิดเห็นทางเพศที่ไม่เหมาะสม, เหน็บแนม และขู่ว่าจะทำอันตราย

การกลั่นแกล้งทางสังคม (Social Bullying) คือ วิธีการทำให้เสียหน้า หรือแกล้งให้สูญเสียความสัมพันธ์กับผู้อื่น อย่างตั้งใจ เช่น ขับเพื่อนออกจากกลุ่ม, กระจายข่าวลือให้เสียหาย, กีดกันไม่ให้เป็นเพื่อนกัน, ทำให้เกิดความอับอายในที่สาธารณะ

การกลั่นแกล้งทางกายภาพ (Physical Bullying) คือ การกลั่นแกล้งที่เกี่ยวข้องกับร่างกายและสวัสดิภาพของผู้ถูกกลั่นแกล้ง เช่น การทุบตี ทำร้าย ทำให้สะดุด แย่งสิ่งของ แสดงออกทำท่าทางหยาบคายใส่

สถานที่และเหตุการณ์แบบไหนที่มักจะเกิดเหตุการณ์บูลลี่

การกลั่นแกล้งมักเกิดขึ้นที่โรงเรียน ในเวลาหลักเลิกเรียน ไม่ว่าจะเป็น สนามเด็กเล่น, สนามบาส, ลานอเนกประสงค์ หรือเส้นทางกลับบ้านของนักเรียน การกลั่นแกล้งบูลลี่ มักนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรม เช่น การกรรโชกทรัพย์ ผู้ตกเป็นเหยื่อมักเป็นเด็กอายุ 12 - 18 ปี

บูลลี่ในโลก

เมื่อพิจารณาข้อมูลการบูลลี่ด้วยตัวอักษรผ่านอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Cyberbully พบว่าในปี พ.ศ. 2561 ประเทศอินเดียเป็นอันดับ 1 และในปี พ.ศ. 2563 คือ ประเทศญี่ปุ่น ส่วนประเทศเกาหลีกำลังจัดการ Cyberbully ที่ส่งผลให้เกิดความกดดันและเป็นเหตุสูญเสีย ยกตัวอย่างเหตุการณ์สมาพันธ์ไตรกีฬานานาชาติ แบนโค้ชและนักไตรกีฬา 2 คน กรณีแสดงการคุกคาม ชเว ซุก ฮยอน นักกีฬาดาวรุ่งวัย 22 ปี จนเป็นสาเหตุทำให้เธอจบชีวิตในปี พ.ศ. 2563

บูลลี่ในไทย

มูลนิธิเครือข่ายครอบครัวเปิดเผยว่า ประเทศไทยติดอันดับ 2 ในโลกในปี พ.ศ. 2563 รองจากประเทศญี่ปุ่น จากข้อมูลการบูลลี่ด้วยการใช้ตัวอักษรผ่าน Social Media ในปีเดียวกัน Punch Up x Wisesight ได้ร่วมกันเล่าเรื่องผ่านข้อมูลพบว่า คำที่คนไทยใช้บูลลี่กันมากที่สุดเป็นเรื่อง รูปลักษณ์ เพศ และความคิดกับทัศนคติ ได้แก่ ไม่สวย, ไม่หล่อ, หน้าเบี้ยว, ขี้เหร่, หน้าหัก, หน้าปลอม, ผอม, เตี้ย, สิว, ดำ, ขาใหญ่, จอแบน, เหยิน, เหม่ง, ตุ๊ด, สายเหลือง, ขุดทอง, กะเทย, โสเภณี, กะหรี่, แมงดา, ชะนี, แรด, หากระโปรงมาใส่, โง่, สลิ่ม, ตลาดล่าง, ปัญญาอ่อน, ต่ำตม, ไดโนเสาร์ เป็นต้น ระดับการศึกษาที่ใช้คำบูลลี่มากที่สุด พบว่าเป็น ระดับมัธยม ในทุกระดับชั้นพบว่าเพื่อนเป็นผู้ใช้คำบูลลี่กันมากที่สุด

บูลลี่ในโรงเรียน

เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กและเยาวชน ให้ข้อมูลว่า จากการสำรวจกลุ่มเด็กอายุ 10 - 15 ปี ใน 15 โรงเรียน พบว่าร้อยละ 91.79 เคยถูกบูลลี่ และวิธีการที่ใช้มากที่สุดคือ การตบหัว ถูกล้อชื่อพ่อชื่อแม่ และถูกเหยียดหยาม และอื่นๆ เช่น ล้อปมด้อย พูดจาเสียดสี เป็นต้น

การบูลลี่ในโรงเรียน

นำไปสู่ปัญหาแก่เด็กๆ ทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน ส่งผลต่อการเรียนและความปลอดภัยของเด็ก เพื่อไม่ให้เด็กเจอปัญหาตามลำพัง ผู้ปกครองควรหมั่นซักถาม สังเกตอาการ เมื่อเด็กมีอาการผิดปกติ กังวล กลัว ไม่อยากไปโรงเรียน เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาก่อนที่จะบานปลาย

บูลลี่ในที่ทำงาน

การบูลลี่ในที่ทำงาน มักเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับรูปร่าง และพฤติกรรมของพนักงาน รวมถึงเรื่องชู้สาวที่มีโอกาสเกิดปัญหาคุกคามทางเพศ อย่างไรก็ดีผู้ที่เผชิญกับเหตุการณ์ถูกบูลลี่จะต้องเตรียมพร้อมรับมือ และเก็บหลักฐานสำหรับชี้แจงต่อหัวหน้าสายงานได้

19 February 2564

ที่มา ไทยรัฐ

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 26016

 

Preset Colors