เย็นศิระเพราะพระบริบาล ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมสุขภาพจิต
ตระหนักไม่ตระหนก covid-19 ตระหนักไม่ตระหนกก้าวผ่านวิกฤติ covid-19
สุขภาพจิตนี้ขายไม่ได้ แม้แต่ให้ก็ยาก แต่ว่าจะต้องเพาะ
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต
“โรคซึมเศร้า” กับ “ความเศร้า” แตกต่างกันอย่างไร?
“โรคซึมเศร้า” กับ “ความเศร้า” แตกต่างกันอย่างไร?
นพ.กานต์ จำรูญโรจน์ อาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
• โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ทำให้มีความคิดฆ่าตัวตายเกิดขึ้น เมื่อใดก็ตามที่อาการซึมเศร้าส่งผลกระทบต่อชีวิต และทำให้ทุกข์ทรมานใจอย่างมาก
• โรคซึมเศร้ามีทั้งหมด 9 อาการ แต่ 2 อาการที่เป็นข้อบ่งชี้สำคัญ คือ มีอาการเศร้า หงุดหงิดเบื่อหน่ายไม่มีความสุขกับสิ่งที่เคยชอบทุกวันทั้งวัน ต่อเนื่องกัน 2 สัปดาห์
• ใครบ้างที่เสี่ยงซึมเศร้า มีประวัติครอบครัวมีพ่อแม่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ลูกมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ เป็นคนขี้กังวลทำให้คิดเยอะเครียดง่าย ความนับถือตนเองต่ำ รู้สึกเราไม่มีคุณค่า สารเสพติดเสี่ยงกับโรคซึมเศร้า ที่ใช้เยียวยาความเศร้าบางอย่าง เคยได้รับการกระทบกระเทือนจิตใจอย่างมากในวัยเด็ก ความเครียดสะสม มีปัญหาหย่าร้างหรือปัญหาชีวิตสมรส การศึกษาที่ต่ำ
• อาการซึมเศร้าในวัยรุ่น อาจไม่ได้เศร้า แต่อาจแสดงเป็นความหงุดหงิดเกเร เช่นเดียวกับผู้สูงอายุ อาจไม่ได้แสดงออกทางอารมณ์ แต่แสดงออกทางกาย เช่น อาการปวดหัว หรืออ่อนเพลียเป็นอย่างมาก
• โรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคของความอ่อนแอ แต่คือการที่เราเผชิญกับโรคและสามารถรักษาให้หายขาดได้ในที่สุด
27 มิถุนายน 2562
ที่มา มติชนรายวัน
Posted By ์์Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana
Views, 532