02 149 5555 ถึง 60

 

เผยสถิติน่าตกใจคนไทยป่วยโรคหัวใจ 432,943 คนต่อปี นักโภชนบำบัดชี้ นมถั่วเหลืองช่วยลดปัจจัยเสี่ยง

เผยสถิติน่าตกใจคนไทยป่วยโรคหัวใจ 432,943 คนต่อปี นักโภชนบำบัดชี้ นมถั่วเหลืองช่วยลดปัจจัยเสี่ยง

ท่ามกลางสถานการณ์ฝุ่นพิษปกคลุมหลายพื้นที่ในประเทศไทย ที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีโรคประจำตัวนั้น ท่านทราบหรือไม่ว่ายังมีโรคเรื้อรังหลายๆประเภท เกิดจากสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการใช้ชีวิต แม้เป็นโรคที่ไม่ติดต่อ แต่ก็คร่าชีวิตคนในรูปแบบมหันตภัยเงียบมาตลอด

432,943 คน คือ ตัวเลขจำนวนคนไทยที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด จากสถิติล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุข ที่เปิดเผย ณ วันที่ 16 กันยายน 2561 โดยจากจำนวนดังกล่าว มีอัตราการตายถึง 20,855 คน ต่อปี หรือ ชั่วโมงละ 2 คน อ้างอิงจาก ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ต่อประชากร 100,000 คน ปี พ.ศ. 2555 – 2559 เท่ากับ 23.4, 26.9, 27.8, 29.9 และ 32.3 แนวโน้ม การเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

ในขณะเดียวกัน ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขอยู่ในปัจจุบัน สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะอักเสบในหลอดเลือดได้ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคหลอดเลือดในสมอง ร่วมไปถึงโรคหัวใจขาดเลือดได้

ผศ. ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า “จากสถิติจะเห็นว่า โรคหัวใจและหลอดเลือดจริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย เราจะเห็นคนรอบตัวที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เยอะมาก เนื่องด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในยุคนี้ ทั้งเรื่องของอาหารการกิน สภาวะแวดล้อม ความเครียด ทุกอย่างส่งผลต่อปัจจัยที่จะเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือสามารถกระตุ้นให้เกิดโรคทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังได้”

“ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นการเรียกโดยภาพรวม ในความเป็นจริง มีโรคและสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจที่แตกต่างกันออกไป อาทิ โรคหัวใจขาดเลือด ที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน ,โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หรือทำงานบกพร่อง ,โรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง เกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือดที่เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือมีการอักเสบติดเชื้อ หรือมีการเสื่อมของผนังหลอดเลือดจากภาวะหลอดเลือดแข็ง ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดไม่แข็งแรง และเกิดการโป่งพอง เป็นต้น ซึ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดเหล่านี้ มักมีความสัมพันธ์กับสาเหตุของการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญได้แก่ อายุที่มากขึ้น การสูบบุหรี่จัด ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้มีการตีบตันในหลอดเลือด ซึ่งสาเหตุหลักๆ ส่วนใหญ่ เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่ส่งผลให้คอเลสเตอรอลสูง การบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง นอกจากนั้นยังมีเรื่องของเชื้อไวรัสและปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ เช่น มลภาวะ PM 2.5 ก็เป็นส่วนหนึ่งเช่นกัน”

เมื่อมองภาพรวมพบว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคหัวใจสูงถึง 6,906 ล้านบาทต่อปี และยังเป็นสาเหตุของการสูญเสียสุขภาวะในอันดับต้นๆ ของประชากรไทยวัยทำงาน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของ ประชากร เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ซึ่งหากประชาชนทั่วไป เกิดความตระหนักรู้ แล้ว และมีแนวทางการดูแล ป้องกัน ,รักษาสุขภาพของหัวใจ อย่างถูกวิธี ย่อมจะเป็นการลดการสูญเสียต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

“ด้วยพฤติกรรมคนไทย ที่บริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม สูงมาก ยกตัวอย่างปริมาณน้ำตาลที่แนะนำต่อวันคือ 6 ช้อนชา แต่คนไทยกลับบริโภคสูงถึง 28.4 ช้อนชาต่อวัน (***ข้อมูลจาก GAIN (Global Agricultural Information Network ปี 2557) ,บริโภคน้ำมันในปริมาณ 12 ช้อนชาต่อวัน จากปริมาณที่แนะนำคือ 6 ช้อนชาต่อวัน และบริโภคเกลือ ปริมาณ 2-3 ช้อนชาต่อวัน จากปริมาณที่แนะนำคือ 1 ช้อนชาต่อวัน เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคในกลุ่ม NCDs (Non-communicable diseases) ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ,โรคหลอดเลือดสมอง ,โรคเบาหวาน ,โรคมะเร็งปอดและถุงลมโป่งพอง ,โรคอ้วนลงพุง ,โรคความดันสูง และโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต โดยจะค่อย ๆ สะสมอาการทีละนิด และทวีความรุนแรง สุดท้ายจะเกิดอาการเรื้อรังในที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างถูกต้องและทันเวลา ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง”

“ระดับคอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือดสูง รวมถึงการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง ล้วนแล้วเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด นักวิจัยเชื่อว่าการบริโภคธัญพืช ธัญชาติ ผัก ผลไม้ ถั่วเปลือกแข็ง สามารถช่วยยืดอายุขัย และทำให้สุขภาพดี อาทิ โปรตีนในนมถั่วเหลือง มีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลโดยรวม และลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีกับสุขภาพ หรือ LDL Cholesterol และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ตลอดจนยับยั้งการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ลดการอักเสบของหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ”

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่ม โรคไม่ติดต่อ NCDs เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยเป็น โรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตปีละกว่า 300,000 คน และคาดว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี

“ โรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อเกิดขึ้นแล้ว แม้จะสามารถรักษาได้ก็จริง แต่การป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรค น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะทำได้ง่ายกว่า ประหยัดกว่า การสร้างความตระหนักรู้ ถึงสถานการณ์ของโรคหัวใจ และการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหาร ลด ละ เลิก อาหารหวานจัด เค็มจัด และมันจัด ละเว้นการสูบบุหรี่ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้ลดจำนวนผู้ป่วยลงได้” ผศ.ดร.ฉัตรภา กล่าว

และgเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ นี้ ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ณ ลานอีเดน ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์ น้ำนมถั่วเหลือง V-Soy Hi-Calcium (วี-ซอย ไฮแคลเซียม) ได้จัดงานเปิดตัวโครงการ V-Soy Heart To Heart รวมพลังสมทบทุนมอบหัวใจแข็งแรงให้คนไทย เพื่อนำรายได้มอบให้กับมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมแขกรับเชิญพิเศษ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด พญ.คุณสวรรยา เดชอุดม กรรมการบริหารมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์และประธานโครงการอาหารไทย หัวใจดี ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม และอ้อม-พิยดา อัครเศรณี ที่จะมาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยภายในงานยังเปิดให้บริการตรวจวัดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจกับเครื่อง V-soy A.I. Heart Check ครั้งแรกในประเทศไทย และนิทรรศการเกี่ยวกับโรคหัวใจ เพื่อร่วมกันสร้างหัวใจคนไทยให้แข็งแรง

8 February 2562

ที่มา สยามรัฐ

Posted By ์์Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 29453

 

Preset Colors