02 149 5555 ถึง 60

 

ความเครียดแปรผันตามการระบาด

THE STRESS RATE ความเครียดแปรผันตามการระบาด

เรื่องโดย ศิริกร โพธิจักร

ในปีนี้สภาพจิตใจคนไทยเป็นอย่างไรบ้าง นายแพทย์วรตม์อธิบายว่าสามารถประเมินข้อมูลที่ได้จาก Mental Health Check-in ซึ่งเป็นเครื่องมือประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นและคัดกรองความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตจากสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ทุกครั้งที่การระบาดเพิ่มขึ้น ตัวเลขที่บ่งชี้ว่าผู้ทำแบบประเมินมีความเครียด ซึมเศร้า และเสี่ยงฆ่าตัวตายก็เพิ่มขึ้น ตัวเลขที่บ่งชี้ว่าผู้ทำแบบประเมินมีความเครียด ซึมเศร้า และเสี่ยงฆ่าตัวตายก็เพิ่มขึ้น

“ในกลุ่มประชาชนทั่วไป ตั้งแต่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา กลุ่มที่มีความเครียดสูงคิดเป็นร้อยละ 8.5 พอมาถึงเดือนมีนาคม ตัวเลขก็จะลดลงเหลือร้อยละ 2 ก่อนจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนมิถุนายนและเดือนกรกฎคม คิดเป็นร้อยละ 2 ก่อนจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนมิถุนายนและเดือนกรกฎาคม คิดเป็นร้อยละ 9.6 ถ้าเอามาพล็อตกราฟจะเห็นว่าความชันของกราฟใกล้เคียงกับความชันของตัวเลขผู้ติดเชื้อ

“สาเหตุที่ตัวเลขขึ้นสูงเช่นนี้ ผมประเมินว่าเป็นเพราะเกิดการระบาดในชุมชนและส่งผลกระทบกับประชาชนทั่วไปเป็นวงกว้าง เอาง่ายๆ ลองถามตัวเองดูก็ได้ว่ามีคนรู้จักติดโควิดหรือไม่ ทุกคนจะตอบว่ามี

“ข้อเท็จจริงนี้จึงเป็นคำตอบว่าทำไมในการระบาดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เมื่อมีคนรับข่าวสารเกี่ยวกับโควิดแล้วเห็นภาพคนป่วยคนตายจึงส่งผลต่อจิตใจมากกว่าเดิม

“นั่นเพราะพวกเขาเห็นอกเห็นใจคนเหล่านั้น ขณะที่หลายๆคนก็มีคนในครอบครัวหรือตัวเองเป็นผู้ป่วยโควิด ผลกระทบทางจิตใจจึงเพิ่มขึ้นความเครียดจึงเพิ่มขึ้น นี่คือข้อแตกต่างเมื่อเทียบกับผลกระทบทางใจที่เกิดขึ้นกับการระบาดในช่วงต้นปี”

ทั้งนี้เมื่อทำแบบประเมินแล้วจะทราบผลได้ทันทีและมีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวรวมทั้งมีช่องทางการขอรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางออนไลน์ได้อีกด้วย

THE LATEST RESEARCH UPDATE ผู้ป่วยจิตเวชเสียชีวิตจากโควิดมากกว่าคนทั่วไป

ข้อมูลนี้อาจเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้ป่วยจิตเวช ญาติ คนใกล้ชิด และผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช ญาติ

คนใกล้ชิด และผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช เอาใจใส่ดูแลสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้มากขึ้น

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Psychiatry โดยทีมวิจัยของ The University of Marseille ประเทศฝรั่งเศล ระบุว่าผู้ป่วยจิตเวชที่ติดเชื้อโควิดมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ติดเชื้อโควิดที่ไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวชสูงถึง 1.8 เท่า

งานวิจัยชิ้นนี้ได้จากการวิเคราะห์การศึกษาวิจัย 16 ฉบับ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อ

โควิดมากกว่า 19,000 คนใน 7 ประเทศ โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยจิตเวชที่ติดเชื้อโควิดประกอบด้วยผู้ป่วยโรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) โรควิตกกังวล (Anxiety) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personality Disorders) ปัญหาการใช้สารเสพติด (Substance Abuse Disorders) และภาวะเสพติด (Addiction)

ในบรรดาผู้ป่วยโรคทางจิตเวชต่างๆ ผู้ป่วยโรคจิตเภทและผู้ป่วยโรคไบโพลาร์เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเสียชีวิตสูงสุด คือ 2.3 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อโควิดที่ไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวช

แม้จะตัดปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสเสียชีวิตอื่นๆ เช่น น้ำหนักเกิน อายุ และปัญหา โรคประจำตัววอื่นๆ ออกไปแล้ว ผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรงก็ยังเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ติดเชื้อ

โควิดที่ไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวชสูงถึง 1.7 เท่า ขณะที่ถ้าเป็นผู้ป่วยจิตเวชโดยรวมก็ยังมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ติดเชื้อโควิดที่ไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวชสูงถึง 1.4 เท่า

DEPRESSION SYMTOMS เช็กอาการเสี่ยงซึมเศร้า

ข้อมูลจากศูนย์การแพทย์ Mayo Clinic รัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา ระบุถึงอาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณอาจมีความเสี่ยงซึมเศร้า ดังนี้

⚫กลุ่มความรู้สึกเศร้า เช่น สิ้นหวัง ห่อเหี่ยว ท้อแท้

⚫กลุ่มความรู้สึกก้าวร้าว เช่น โกรธ หงุดหงิด ทั้งๆที่เป็นเรื่องเล็กน้อย

⚫กลุ่มความรู้สึกเฉยชา เช่น หมดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ

⚫กลุ่มความรู้สึกสับสน เช่น วิตกกังวล ปั่นป่วน กระสับกระส่าย

⚫กลุ่มความรู้สึกไร้ค่า เช่น ไม่เห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนเองทำ รู้สึกผิด คิดถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีตซ้ำๆ โทษตัวเอง

⚫มีความผิดปกติด้านการนอน เช่น นอนไม่หลับเลย นอนหลับๆ ตื่นๆ ฝันร้าย หรือ นอนมาก เกินไป

⚫หมดแรง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่สามารถทำกิจกรรมง่ายๆให้เสร็จได้ ถ้าต้องทำก็จะต้องอาศัยความพยายามอย่างมาก

⚫น้ำหนักลด ความอยากอาหารลดลง หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้น กินมากเกินปกติ

⚫ทำทุกอย่างได้ช้าลง ไม่ว่าจะเป็นความคิด การพูด การกระทำ การเคลื่อนไหวร่างกาย

⚫คิดถึงความตาย มีความคิดเกี่ยวกับความตายผุดขึ้นมาบ่อยๆ เช่น จะฆ่าตัวตายด้วยวิธีใดหรือมีความพยายามที่จะฆ่าตัวตาย

⚫มีปัญหาทางสุขภาพ ที่หาสาเหตุไม่ได้ เช่น ปวดหลัง ปวดหัว ปวดท้อง

ความรู้สึกและอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้เมื่อเราเกิดความรู้สึกหดหู่เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ในภาวะโรคระบาดเช่นนี้ แต่ถ้าเกิดขึ้นทุกวันต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ หรือส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ควรรีบไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาค่ะ

THE SECRET BEHIND NUMBERS วิเคราะห์สถิติ เผยความลับสู่ทางออก

นายแพทย์วรตม์ยังอธิบายถึงข้อมูลความเสี่ยงฆ่าตัวตายที่ได้จากแบบประเมิน Mental Health Check-in ว่า ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้น แม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะมีจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้ความเครียดและความเสี่ยงซึมเศร้าสูงขึ้นตามไปด้วย

“ตัวเลขผู้ที่ทำแบบประเมินแล้วมีความเสี่ยงฆ่าตัวตายอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมิถุนายนพอมาถึงสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 5.9 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับช่วงเดือนมกราคม ทั้งๆที่เราคาดว่าจะสูงกว่า เพราะสถานการณ์ ณ ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละมากกว่า 10,000 คนและผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 100 คน

“ข้อมูลตรงนี้บอกเราว่ามนุษย์ทุกคนเมื่อผ่านวิกฤติและเจอวิกฤติครั้งใหม่ เราจะมีภูมิต้านทานและมีแนวโน้มที่ปรับตัวได้”

จะเห็นได้ว่าข้อมูลนี้สอดคล้องกับข้อค้นพบที่ได้จากการวิเคราะห์งานวิจัยเกือบ 1,000 ฉบับของคณะวิจัย นำโดยรองศาสตราจารย์ลารา ที่ระบุถึงระบบภูมิคุ้มกันด้านจิตวิทยา

(Psychological Immune System)

ชีวจิตเห็นว่าสิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำพาให้พวกเราข้ามผ่านวิกฤติโควิดรวมถึงวิกฤติสำคัญอื่นๆ ในอนาคตไปได้นั่นเอง

นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 550 ปีที่ 23 1 กันยายน 2564

20 October 2564

By STY/Lib

Views, 2451

 

Preset Colors