02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: เจษฎา ทองเถาว์และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: ความชุกของภาวะซึมเศร้าในพยาบาลของโรงพยาบาลศรีนครินทร์.

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 54 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2552 หน้า 37.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อทราบความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะนี้ในโรงพยาบาลของโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบสำรวจภาคตัดขวาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามซึ่งให้อาสาสมัครตอบด้วยตนเอง แบบสอบถามมี 2 ส่วน ส่วนแรกถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปได้แก่ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ การเจ็บป่วยทางกาย สุขภาพจิตความพึงพอใจในสัมพัธภาพภายในครอบครัว และสภาพการทำงาน ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถาม KKU-DI (Khon Kaen Unniversity DepressionInventory) เพื่อคัดกรองภาวะซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ที่ปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2549 ระยะเวลาที่ศึกษาคือ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ปี พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2549 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความชุก ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน odds rations การทดสอบ 28 ยกกำลัง 2 และ multiple logitic regressions. ผลการวิจัย ได้ส่งแบบสอบถามไปยังพยาบาลของทั้งของโรงพยาบาลที่มีอยู่ 623 คน พยาบาล 606 คน (ร้อยละ 97.3) ได้ตอบและส่งแบบสอบถามกลับมา ความชุกของภาวะซึมเศร้าในพยาบาลของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ตามเครื่องมือวัดภาวะซึมเศร้า KKU-DI คือร้อยละ 33.3 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าได้แก่ อายุน้อยกว่า 35 ปี สภาพเศรษฐกิจ เหตุการณ์ที่ทำให้สะเทือนใจในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีประวัติการพยายามฆ่าตัวตาย ความพึงพอใจในสัมพันธภาพภายในครอบครัว ขวัญแลกำลังใจ ค่าตอบแทนความรู้สึกว่าถูกควบคุม ปัญหาจากผู้ป่วยและญาติ ระบบงานและการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพและการขาดแคลนทรัพยากรบุคคล. สรุป ความชุกของภาวะซึมเศร้าในพยาบาลของโรงพยาบาลศรีนครินทร์มีค่าสูงกว่าประชากรทั่วไป สาเหตุอาจเกิดจากภาระงานค่อนข้างมากหนัก การขาดขวัญและกำลังใจ ไม่พอใจค่าตอบแทน ความรู้สึกว่าถูกควบคุมมากเกินไป ปัญหาจากผู้ป่วยและญาติ ระบบงานและการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพการขาดแคลนทรัพยากรบุคคล.

Keywords: พยาบาลวิชาชีพ,โรงพยาบาลศรีนครินทร์, ภาวะซึมเศร้า ความชุก,ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า KKU-DI.

ปีที่เผยแพร่/Year: 2552

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Code: 2010000354

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors