02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: สุนีย์ เอกวัฒนพันธ์, ผ่อง อนันตริยเวช, ฉันทนา บุญคล้าย และคณะ.

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เรื่องการพัฒนาทักษะการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่องสุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 192-193.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญของปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวชนับเป็นความเจ็บป่วยที่รุนแรง และต้องใช้เวลาในการรักษายาวนาน ส่งผลกระทบด้านความคิดและการรับรู้ของบุคคล ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งได้แก่ การไม่อาบน้ำ ไม่แปรงฟัน สวมเสื้อผ้าไม่สะอาด นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยไม่ร่วมมือในการรับประทานยา กลับมีอาการกำเริบบ่อยจนกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง มีความเสื่อมถอยในทักษะชีวิตทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการดูแลตนเอง งานบริการผู้ป่วยบำบัดระยะยาว กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศรีธัญญา ให้บริการและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง จำนวน 415 เตียง ผู้ป่วยเหล่านี้มีข้อจำกัดในการดูแลตนเอง และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน โดยพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 50 ของผู้ป่วยทั้งหมดเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ป่วยเป็นโรคผิวหนังและฟันผุ เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ป่วยให้สามารถดูแลตนเองในทักษะพื้นฐานการดำเนินชีวิต จึงได้ทบทวนวิธีการและแนวปฏิบัติในการฝึกทักษะการดูแลตนเองของผู้ป่วยให้มีประสิทิภาพจนผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองด้านการรักษาความสะอาดของร่างกายได้ดีขึ้น วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการฝึกทักษะการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้ Evidence Based Nursing Practice 2) เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานที่ดี วิธีการศึกษา 1) ทำการสืบค้นข้อมูลเชิงประจักษ์นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ พร้อมทั้งทบทวนแนวปฏิบัติที่มีอยู่เดิมและจัดทำแนวปฏิบัติขึ้นใหม่โดยทำการสืบค้นข้อมูลทั้งหมดจำนวน 12 เรื่อง แบ่งเป็นยในระดับ RCT จำนวน 6 เรื่อง เป็น Quasi Experimental จำนวน 4 เรื่อง และวิจัยเชืงพรรณนา จำนวน 2 เรื่อง 2) นำแนวปฏิบัติใหม่มาทดลองใช้ในผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ที่มีความบกพร่องในทักษะการดูแลตนเอง จำนวน 30 ราย เป็นเวลา 1 เดือน 3) ประเมินผล ก่อนฝึก หลังฝึกทักษะ และติดตามผลทุกสัปดาห์จำนวน 4 ครั้ง ผลการศึกษา พบว่าคะแนนทักษะการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่าง ก่อนฝึกและหลังฝึกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือผู้ป่วยหลังได้รับการฝึกทักษะมีความสามารถในการทำกิจกรรมดูแลตนเองได้ดีขึ้น สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการฝึกทักษะการดูแลตนเองมีคะแนนทักษะการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นทั้ง 6 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 100 ข้อเสนอแนะ 1) การฝึกทักษะผู้ป่วยต้องคำนึงถึงอายุ ระยะเวลาการเจ็บป่วยทางจิตที่ยังหลงเหลืออยู่ โอกาสทางสังคม บุคลิกภาพ ประสบการณ์ชีวิต การวินิจฉัยโรคและฐานะเศรษฐกิจ มีส่วนทำให้ผลการฝึกทักษะในผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง มีระดับคะแนนเพิ่มขึ้นแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย 2) ในการฝึกทักษะผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังจะต้อ ใช้กระบวนการกลุ่มกระตุ้นความสนใจ เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการฝึกทักษะมากขึ้น 3) บุคลากรต้องมีทัศนคติที่ดี มีความเข้าใจยอมรับผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ต้องมีความหวังในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย มีความอดทน อดกลั้น 4) บุคลากรต้องมีองค์ความรู้ สามารถนำความรู้เชิงประจักษ์มาประยุกต์ใช้ในการฝึกทักษะผู้ป่วยได้จริง 5) ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังควรได้รับการฝึกทักษะชีวิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเองได้อย่างยั่งยืน

Keywords: ฟื้นฟูสรรมภาพทางจิตเวช, แนวปฏิบัติการพยาบาล, ทักษะการดูแลตนเอง, การพยาบาลจิตเวช, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ผู้ป่วยจิตเวช, การดูแลตนเอง, การพัฒนาทักษะการดูแลตนเอง

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลศรีธัญญา.

Code: 2007000178

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download:

 

Preset Colors