02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: ศิริพร ทองบ่อ, นิมิต แก้วอาจ, ธิดา รัตนสมบัติ, นายสุดใจ เหล่าสมบัติและคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนาระบบบริการจิตสังคมบำบัดแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 178.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตูผล: เนื่องจากโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เป็นโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองคุณภาพในระบบ ISO 9001: 2000 และมุ่งมั่นที่จะได้รับการรับรองให้เป็นโรงพยาบาลที่มีคูณภาพตามมาตรฐาน HA ต่อไป หน่วยจิตสังคมบำบัดโรงพยาบาลขอนแก่นราชนครินทร์ได้เปิดให้บริการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดมาตั้งแต่ปี 2544 พบปัญหาผู้เข้ารับบริการเข้าสู่กระบวนการไม่สม่ำเสมอ มารับบริการขาดหายไม่ต่อเนื่องและ ได้รับข้อเสนอแนะจากผู้ป่วย ญาติ ผู้มารับบริการที่หน่วยจิตสังคมบำบัด เรื่องพฤติกรรมบริการรูปแบบการให้บริการ สถานที่ เช่น การต้อนรับไม่ประทับใจ บริการล่าช้า ไม่มีส่วนร่วมในการบำบัดรักษาทางหน่วยงานจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (continuous Quality Improvement = CQI) ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวโดยกิจกรรมทั้งหมดเน้นผู้รับบริการเป็นส่วนกลางและให้มีส่วนร่วมในการคิด เสนอแนะแนวทางแก้ไข วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้รับบริการพึงพอใจ ขอบเขตการดำเนินงาน ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไปที่มาใช้บริการที่หน่วยจิตสังคมบำบัด ในช่วงระยะเวลาระหว่าง ตุลาคม 2547-มีนาคม 2548 วิธีดำเนินการ 1.ขั้นเตรียมการ เก็บรวบรวมข้อมูลผู้รับบริการจากการเสนอแนะด้วยวาจาและใบแสดงความคิดเห็น 2.ขั้นดำเนินงาน นำข้อมูลที่ได้ประชุมร่วมกับผู้รับบริการ เพื่อประเมินบริการที่ได้รับและปัญหาอุปสรรคข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข และจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาระบบบริการจิตสังคมบำบัดในด้านพฤติกรรมบริการรูปแบบการให้บริการ สถานที่และสิ่งแวดล้อม 3.สรุป / วิเคราะห์ประเมินโครงการ 4.การติดตามผล เพื่อประเมินความพึงพอใจ สรุปผลโครงการ: ผลการดำเนินงานพบว่า ผู้มารับบริการมีความพึงพอใจโดยแสดงออกด้วยการกล่าวคำชมเชยและชื่นชมในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผู้รับบริการกระตือรือร้น มีแรงจูงใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมสม่ำเสมอ เช่นมานั่งรอก่อนเวลาเข้าร่วมกิจกรรม และมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา ข้อเสนอแนะ การพัฒนาโดยให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้รับบริการมีความภาคภูมิใจและมีแรงจูงใจที่จะเข้ารับการบำบัดอย่างต่อเนื่อง และน่าจะนำไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมอื่นต่อไป เช่นกิจกรรมในหอผู้ป่วย

Keywords: ยาเสพติด, บำบัด, พฤติกรรม, บริการ, จิตสังคม, การพัฒนา, ความพึงพอใจ, แรงจูงใจ, จิตสังคมบำบัด, สารเสพติด, พฤติกรรมบริการ, มาตรฐานบริการ, ระบบบริการ, โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: หน่วยจิตสังคมบำบัด โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

Code: 20050000124

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในที่ประชุมวิชาการระบาดวิทยาแห่งชาติ

Download: -

 

Preset Colors