02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: พิไลวรรณ กาญจนวิโรจน์, เอื้อารี สาลิกา, รื่นฤดี ลิ้มฉาย, จันทร์เพ็ญ สุทธิชัยโชติ, สุกันยา สำราญพิศ, รัชนีกร สีสวาท, สุภาภรณ์ มาตรผลาการ

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของการพยาบาลด้วยแบบแผน VESIF ที่มีต่อการหกล้มในผู้ป่วยหลังจากได้รับยา CLOZAPINE.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 157.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล clozapine เป็นยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่ (Atypical antipsychotic) ที่ใช้ได้ผลดีในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท ซึ่งต้องการรักษาด้วยยารักษาโรคจิตชนิดอื่นและผู้ป่วยที่กลับเป็นซ้ำใหม่ อีกทั้งยังรักษาผู้ป่วยกลุ่ม positive symptoms เช่น อาการหลงผิด (Delusion) อาการประสาทหลอน (Hallucination) และกลุ่ม negative symptoms เช่น อารมณ์เฉยชา (Blanted effect) ได้ผลเป็นอย่างดีและยังสามารถลดอาการแพ้ยาอย่างรุนแรงซึ่งไม่สามารถกลับคืนมาเป็นปกติ (Tardive dyskinesia) ได้อีกด้วย การรักษาด้วย Clozapine อาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาคือ อาการง่วง ซึม หัวใจเต้นเร็ว ความดันต่ำขณะเปลี่ยนอิริยาบถ น้ำหนักเพิ่ม มีน้ำลายไหลมากผิดปกติจากผลข้างเคียงดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงอาจเกิดการหกล้มได้ง่าย จากการศึกษาจากใบรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงย้อนหลังเป็นเวลา 3 เดือน (กย-พ.ย) พบว่า มีผู้ป่วยรับประทานยา Clozapine ทั้งหมด 42 ราย ผู้ป่วยหกล้ม 5 ราย เราจึงหาแนวทางในการดูแลและฝ้าระวัง Clozapine ทำให้เป็นรูปแบบเดียวกัน วัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาผลของแบบแผนการดูแลและเฝ้าระวัง VESIF ที่มีต่อการหกล้มในผู้ป่วยหลังจากได้รับยา Clozapine ในหอผู้ป่วยสามัญหญิง กลุ่มงานผู้ป่วยในจิตเวช กลุ่มการพยาบาล สถาบันจิตเวชสมเด็จเจ้าพระยา ขอบเขตการดำเนินงาน ผู้ป่วยที่ได้รับยา Clozapine จำนวน 45 ราย ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2548-28 กุมภาพันธ์ 2549) ในหอผู้ป่วย ลดาวัลย์ จามจุรีและพวงชมพู วิธีดำเนินการ 1. ตกลงและทำความเข้าใจกับแบบแผนการดูแลและเฝ้าระวังแบบ VESIF พร้อมทั้งซักซ้อมระบบใหม่ในวันที่ 25 พ.ย. 48 2. ทดลองระบบการใช้แบบแผนการดูแลและเฝ้าระวัง VESIF พร้อมทั้งรายงานผลทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน ( 1 ธ.ค. 48-28 ก.พ. 49) โดยรวบรวมจากแบบบันทึกการเฝ้าระวังผลข้างเคียงจากการใช้ยา Clozapine และใบรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา Clozapine ทั้งหมด 45 ราย หลังจากใช้แบบแผนการดูและเฝ้าระวังแบบ VESIF เป็นเวาล 3 เดือน ไม่พบผู้ป่วยหกล้มเลย

Keywords: การพยาบาลจิตเวช, ผู้ป่วยโรคจิต, ยารักษาทางจิตเวช, ยาต้านโรคจิต, ยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่, แพ้ยารุนแรง, ประสาทหลอน, ผู้ป่วยจิตเภท, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์clozapine, VESIF

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต

Code: 200600068

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -

 

Preset Colors