02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: ภาวินี ธนบดีธรรมจารี, ชะลอ ฤทธิ์คุมพล.

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของการใช้โปรแกรม PIP ที่มีต่อพฤติกรรมดื่มน้ำมากกว่า 3000 ซีซี ต่อวันของผู้ป่วยจิตเวช ตึกเฟื่องฟ้า.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 156.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การดื่มน้ำมากผิดปกติของผู้ป่วยจิตเวชจะนำไปสู่ภาวะน้ำเป็นพิษได้ ผู้ป่วยจะมีอาการสับสน กระสับกระส่าย เดินเซ โซเดียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ถ่ายปัสสาวะมาก อาเจียนเป็นน้ำ ชักหมดสติและอาจถึงแก่ชีวิตได้ กลุ่มอาการนี้เรียกว่า PIP syndrome (Psychosis Intermittent Hypontremia and Polydipsia syndrome) นับเป็นความเสี่ยงทางคลินิกที่อันตราย จากภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ทีมตึกเฟื่องฟ้าจึงได้จัดทำโปรแกรม PIP สำหรับผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมดื่มน้ำมากผิดปกติขึ้น เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังภาวะน้ำเป็นพิษ ช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย จากผลแทรกซ้อนอื่นๆ อีกทั้งไม่ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรม PIP ที่มีต่อพฤติกรรมดื่มน้ำ> 3000 ซีซีต่อวันของผู้ป่วยจิตเวช ขอบเขตการวิจัย ผู้ป่วยจิตเวชที่ดื่มน้ำ> 3000 ซีซีต่อวันในตึกเฟื่องฟ้า สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ระเบียบวิธีวิจัย เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมดื่มน้ำ > 3000 ซีซี ต่อวันของผู้ป่วยจิตเวช เครื่องมือทดลองคือ โปรแกรม PIP เครื่องมือวัดผล คือ แบบบันทึก I/O และ BW, แบบบันทึกโปรแกรม PIP เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2548 ถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย สรุปผลการวิจัย การพยาบาลโดยใช้โปรแกรม PIP ในผู้ป่วยจิตเวช ทำให้พฤติกรรมดื่มนำมากผิดปกติของผู้ป่วยจิตเวชจาก 7 คน ลดลงได้ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 71.4 ในสัปดาห์ที่ 6 ส่วนที่เหลืออีก 2 คน พบว่าหลังให้การพยาบาลโดยใช้โปรแกรม PIP ต่อเนื่องอีก 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดื่มน้ำลดลงจนเป็นปกติ และสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้ เป็นเพราะว่าทั้งสองรายเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง เจ็บป่วยทางจิตมานาน 10 ปี จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการบำบัดพยาบาลเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มน้ำของผู้ป่วย ข้อเสนอแนะ ควรจัดทำกลุ่ม Center สำหรับผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมดื่มน้ำมากผิดปกติร่วมด้วย และหลังจำหน่ายกลับบ้านแล้ว ควรติดตามภาวะน้ำเป็นพิษและปริมาณน้ำที่ผู้ป่วยดื่ม โดยจัดทำสมุดบันทึกอาการและปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวันเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมพฤติกรรมการดื่มน้ำมากผิดปกติของตนเอง (Self control) ได้อย่างถาวรตลอดไป

Keywords: พฤติกรรม, โปรแกรม pip, ผู้ป่วยจิตเวช, การดื่มน้ำ, ผู้ป่วยโรคจิต, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, พฤติกรรมการดื่มน้ำมากผิดปกติ, การพยาบาลจิตเวช, พยาบาล

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

Code: 2006000164

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -

 

Preset Colors