02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: จลี เจริญสรรพ์

ชื่อเรื่อง/Title: การดำเนินช่วยเหลือและฟื้นฟูทางจิตใจกรณีธรณีพิบัติ 6 จังหวัดภาคใต้ในระยะ 1 เดือนหลังเกิดเหตุ : มุมมองปฏิบัติงาน

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 88-91.

รายละเอียด / Details:

ผู้ปฏิบัติงานของกรมสุขภาพจิตที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ประสบภัย ได้รายงานปัญหาสุขภาพจิตของผู้ประสบภัยกรณีพิบัติ 6 จังหวัดภาคใต้ในระยะ 1 เดือนหลังเกิดเหตุ พบว่าผู้ประสบภัยมีภาวะเครียด วิตกกังวล ผวา ตกใจง่าย นอนไม่หลับ หวาดกลัวจะเกิดเหตุการณ์ซ้ำ ไม่ต้องการกลับไปยังพื้นที่เกิดเหตุ เหม่อลอย พูดคนเดียว ร้องไห้ ไม่สนใจที่จะดูแลบาดแผลตามร่างกาย ฟูมฟาย ทำใจไม่ได้ มีความคิดทำร้ายตัวเอง มีความคิดซ้ำๆเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ผ่านมา โทษตัวเอง มีภาวะซึมเศร้า รู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้ปฏิบัติงานของกรมสุขภาพจิตได้ให้การช่วยเหลือและฟื้นฟูในรูปแบบ Mobile Team ซึ่งมีกิจกรรมการช่วยเหลือและฟื้นฟูดังนี้ การคัดกรองผู้มีปัญหาสุขภาพจิตโดยใช้เครื่องมือ GHQ 12 (General Health Questionnaire 12)ตรวจรักษาโดยการให้ยา Refer Health Counseling, Family Counseling, Group Therapy, Individual Therapy, Supportive Psychotherapy, Focus Group, Home Health Care ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหา ผู้ให้บริการของกรมสุขภาพจิต ไม่มีปัญหาในเรื่องการให้บริการ เพราะบุคลากรมีความรู้ ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญ แต่จะมีปัญหาด้านบริหารจัดการดังนี้ 1. การประสานงาน 1.1 ปัญหาอุปสรรค ไม่มีความชัดเจนในเรื่องการประสานงานกับพื้นที่ประสบภัย ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสับสน ทำงานซับซ้อน เสียเวลา อาจเนื่องจากทุกหน่วยงานไม่มีประสบการณ์ ทำให้ขาดการวางแผนเรื่องการประสานงาน 1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหา 1.2 .1 ระดับประเทศ มีการบูรณาการของ 8 กรม คือ กรมควบคุมโรค กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมสุขภาพจิต กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมอนามัย กรมพัฒนา การแพทย์แผนไทย สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา แต่งตั้งกรรมการศูนย์อำนวยการ ดูแลสุขภาพผู้ประสบภัย มีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน มีสาธารณสุขนิเทศก์ เขต 15, 17 เป็นเลขานุการคณะกรรมการ สำหรับคณะปฏิบัติงานศูนย์อำนวยการดูแลสุขภาพผู้ประสบภัย มีรองอธิบดีกรมวิชาการที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน 1.2.2 ระดับกรม กรมสุขภาพจิต จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูทางจิตใจแก่ผู้ประสบภัยกรณีธรณีพิบัติส่วนกลาง (ศชส. ส่วนกลาง ) ตั้งอยู่ที่กรมสุขภาพจิต จังหวัดนนทบุรี และศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูทางจิตใจแก่ผู้ประสบภัยกรณีพิบัติส่วนหน้า (ศชส. ส่วนหน้า) ตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อทำหน้าที่ประสานงาน 2. การติดต่อสื่อสาร 2.1 ปัญหาอุปสรรค การติดต่อสื่อสารเป็นลักษณะการสื่อสารทางเดียว ทำให้เกิด ความไม่เข้าใจในเรื่องข้อมูล 2.2 แนวทางการแก้ไขปัญหา 2.2.2 Mobile Team เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานในแต่ละสัปดาห์ มีการประชุมร่วมกับผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตของจังหวัด 2.2.2 Mobile Team สรุปรายงานการปฏิบัติทุกสัปดาห์ ณ ศชส. ส่วนหน้า โดยมีผู้บริหารของกรมสุขภาพจิตเป็นประธาน 2.2. 3 ศชส. ส่วนหน้าสรุปผลการปฏิบัติงานของ Mobile Team ทุก Team และแจกรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานในวันประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของ Mobile Team ทุกสัปดาห์ 2.2.4 ศชส. ส่วนกลาง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารใน Website ของกรมสุขภาพจิต 3. ข้อมูล 3.1 ปัญหาอุปสรรค การจัดทำฐานข้อมูลไม่ชัดเจนทำให้เกิดการล่าช้า เสียเวลาในการรวบรวมข้อมูล และรายงานข้อมูล 3.2 แนวทางการแก้ไขปัญหา 3.2.1 ควรเขียน Program ฐานข้อมูลเกี่ยวกับกรณีพิบัติ ถ้าเกิดเหตุการณ์อีก สามารถนำไปใช้ได้เลย 3.2.2 พื้นที่ประสบภัยทุกพื้นที่ ต้องจัดทำ Family Folder ของผู้ประสบภัย 100 % 4. แบบฟอร์มรายงาน/ เครื่องมือ/ อุปกรณ์ 4.1 ปัญหาอุปสรรค 4.1.1 ความไม่เหมาะสมของการนำเครื่องมือมาใช้ เช่น ในระยะ 1 เดือนแรก นำแบบวัดประเมินความเครียด และแบบวัด ประเมินอาการซึมเศร้ามาใช้ 4.1.2 แบบฟอร์มรายงานไม่สมบูรณ์ เช่น ไม่มี OPD card ทะเบียนผู้รับบริการ ทะเบียนการติดตามดูแลต่อเนื่อง 4.1.3 Mobile นำแบบเครื่องมือของหน่วยงานตนเองมาใช้ ทำให้เกิด ความสับสน 4.2 แนวทางการแก้ไขปัญหา 4.2.1นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานของกรมสุขภาพจิตในพื้นที่ประสบภัยช่วยวิเคราะห์ความเหมาะสมของเครื่องมือที่จะใช้ใน 1 เดือนแรก ยกเลิกแบบประเมินความเครียด และ แบบประเมินอาการซึมเศร้าใช้เฉพาะ GHQ 12 เพื่อคัดกรอง 4.2.2 ผู้ปฏิบัติงานของกรมสุขภาพจิตในพื้นที่ประสบภัยคิดแบบฟอร์ม OPD card ทะเบียน ผู้รับ บริการ และทะเบียนการติดตามดูแลต่อเนื่อง 4.2.3 ผู้บริหารของกรมสุขภาพจิตประชุมให้ทบทวนการใช้เครื่องมือทุกชนิด เขียนคู่มือการปฏิบัติงาน 4.2.4 ปฐมนิเทศ Mobile Team ทุกครั้ง ก่อนออกปฏิบัติงาน 5. หน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 5.1 ปัญหาอุปสรรค ผู้ปฏิบัติงานสับสนในบทบาทหน้าที่ของหัวหน้าทีม ผู้ปฏิบัติงานและผู้ประสานงาน 5.2 แนวทางการแก้ไขปัญหา 5.2.1 ประชุมทีมผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ประสบภัย เขียนบทบาทหน้าที่ ระเบียบ ปฏิบัติในการปฏิบัติงาน 5.2.2 จัดทำคู่มือปฏิบัติงาน สำหรับผู้ปฏิบัติงาน 6. ความคาดหวังของหน่วยงานอื่นต่อกรมสุขภาพจิตหน่วยงานต่างๆ ต้องการข้อมูลด้านสุขภาพมากที่สุด 6.1 ปัญหาอุปสรรค ระยะแรกการติดต่อสื่อสารจะเป็นทางเดียว ทำให้หน่วยงานกับพื้นที่ประสบภัยไม่ได้รับขิ้มูลทำให้เกิดความไม่พึงพอใจ 6.2 แนวทางการแก้ไขปัญหา 6.2.1 ผู้บริหารของกรมสุขภาพจิต ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับหน่วยงานในพื้นที่ 6.2.2 Mobile Tearm เมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงานแต่ละสัปดาห์ ให้สรุปรายงาน ให้หน่วยงานในพื้นที่ประสบภัย ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จของการทำงานในระยะ 1 เดือน หลังเกิดเหตุการณ์ 1. ด้านโครงการ 1.1ทีมงาน ทีมบริหาร ทีมวิชาการ ทีมปฏิบัติการ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต 1.2 หน่วยงานที่รับผิดชอบ มีการจัดตั้ง ศชส. ส่วนหน้าเป็นผู้ประสานงาน 1.3 รูปแบบ ของการช่วยเหลือวิกฤตสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิตมีศูนย์วิกฤตสุขภาพจิต ในโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตทุกหน่วยงาน จึงมีการเคลื่อนไหวเรื่องการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว 2. ด้านกระบวนการ 2.1 การประชุม 2.1.1 Mobile Team ประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทุกสัปดาห์ 2.1.2 มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารนักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงาน 2.1.3 มีการแก้ไขปัญหา ติดตามผลการปฏิบัติงานโดยใช้ Teleconference 2.1.4 นักวิชาการทั้งในกรมสุขภาพจิและนอกสังกัดกรมสุขภาพจิต มีส่วนร่วมในการทำงานมากขึ้น 2.1.5 มีการอบรมให้ความรู้ สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติในระยะ 1 เดือนหลังเกิดเหตุการณ์ ไม่ควรนำแบบสอบถามทุกชนิด มาสอบถามผู้ประสบภัย สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานช่วยเหลือและฟื้นฟูทางจิตใจ 1. การเตรียมความพร้อมของบุคลากรสังกัดกรมสุขภาพจิต ควรมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องต่างๆ เช่น องค์ความรู้ ทักษะการสื่อสารโดยใช้ภาษาต่างประเทศ เตรียมจิตใจของ ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติงาน และถ้าเกิดความเครียดจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร 2. การเตรียมความพร้อมของเครือข่าย เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง กลุ่มเป้าหมายที่ควรเตรียมความพร้อมเพื่อเตรียมตัวในการช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. ครู ตำรวจ ทหาร บุคลากรของมูลนิธิ ประชาชนทั่วไป นักเรียน 3. การเขียนแนวทางปฏิบัติ ควรเขียนให้ชัดเจนเป็นคู่มือเป็นระยะ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน หลัง 3 เดือน เมื่อเกิดภัยพิบัติสามารถทำคู่มือไปใช้ได้ 4. เขียน Program ฐานข้อมูล ให้มีความพร้อมที่จะใช้ 5. การอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมควรกำหนดเป็นแผนให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการปีละกี่ครั้ง เช่น 2 ครั้ง/ ปี 6. เครื่องมือที่จะนำไปใช้ในพื้นที่ต้องกำหนดให้ชัดเจนจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ

Keywords: การฟื้นฟู, ธรณีพิบัติ, สุขภาพจิต, ภาวะเครียด, วิตกกังวล, นอนไม่หลับ, หวาดกลัว, ภัยพิบัติ, ปัญหาสุขภาพจิต, สึนามิ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต

Code: 2005000073

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download:

 

Preset Colors