02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: ขวัญสุดา บุญทศ, ขนิษฐา นันทบุตร

ชื่อเรื่อง/Title: ความสุข ความทุกข์ และสุขภาพจิตผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบนประเทศไทย

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ปีที่ 62, ฉบับที่ 3, กรกฎาคม-กันยายน 2560, หน้า 257-270.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาความหมายของความสุข ความทุกข์ และสุขภาพจิตในบริบทของผู้สูงอายุ ในชุมชนแห่งหนึ่ง ในภาคเหนือตอนบนประเทศไทย
วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงชาติพรรณวรรณาแบบวิพากษ์ โดยศึกษาในประชากรผู้สูงอายุและชุมชนที่ให้การดูแล จำนวน 150 คน ที่มีอายุระหว่าง 22-92 ปี ศึกษาในตำบลแห่งหนึ่งทางภาคเหนือตอนบน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และบันทึกภาคสนามใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูล ในช่วงเดือนตุลาคม 2558-ธันวาคม 2559
ผลการศึกษา ชุมชนให้ความหมายของสุขภาพจิตใน 2 ความหมาย คือ ใจม่วน (สุขใจ) และใจดี (ใจที่ปกติ) ลักษณะสุขภาพจิตที่ดีประกอบด้วย 1) ใจม่วนใจดี 2) ไม่ป่วยไข้ 3) ปรับโตไว (ปรับตัวได้เร็ว) และ 4) ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ความสุข หมายถึง สุขที่ไม่ป่วยไข้ สุขเพราะมีรายได้ สุขที่ได้ไปวัดทำบุญ สุขที่ลูกหลานดี สุขที่ได้ทำประโยชน์ ส่วนความทุกข์ ประกอบด้วย ทุกข์เพราะลูก หลาน ครอบครัว ทุกข์เพราะหาเงินไม่ได้ และทุกข์เพราะไปมาไม่ได้
สรุป จากข้อค้นพบเกี่ยวกับความหมายของสุขภาพจิต ความสุข และความทุกข์ของผู้สูงอายุ มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ดังนี้ ควรมีการสนับสนุนครอบครัวในการสร้างเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นแหล่งสำคัญและใกล้ชิดที่สุด รวมถึงเพิ่มศักยภาพชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ครอบคลุมความหมายของสุขภาพจิต ความสุข และความทุกข์ของผู้สูงอายุ.

Keywords: สุขภาพจิต, ความสุข, ความทุกข์, ผู้สูงอายุ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2560

Address: นักศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Code: 2017000078

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors