02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: นิตยา จรัสแสง, สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของการให้สุขภาพจิตศึกษาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ปีที่ 62, ฉบับที่ 3, กรกฎาคม-กันยายน 2559, หน้า 247-255.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการให้สุขภาพจิตศึกษาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับบริการห้องตรวจผู้ป่วยนอกจิตเวชโรงพยาบาลศรีนครินทร์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษากึ่งทดลองเปรียบเทียบก่อนและหลังในกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (quasi experiment pre and post one group study design) โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคซึมเศร้า ตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรค ICD-10 ที่มารับบริการที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกจิตเวชโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2559 ถึง กันยายน 2559 จำนวน 12 ราย รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารายกลุ่ม สัปดาห์ละครั้ง 4 สัปดาห์ ครั้งละ 60-90 นาที ครั้งที่ 1 ความรู้โรคซึมเศร้า ครั้งที่ 2 มองบวกได้อย่างไร คิดอย่างไรไม่ให้เครียด ครั้งที่ 3 สื่อสารอย่างไรให้เข้าใจกัน ครั้งที่ 4 จะป้องกันป่วยซ้ำได้อย่างไร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9 คำถามของกรมสุขภาพจิต คะแนนน้อยกว่า 7 ไม่มีอาการโรคซึมเศร้า 7 ถึง 12 มีอาการโรคซึมเศร้าระดับน้อย 13-18 มีอาการโรคซึมเศร้าระดับปานกลาง มากกว่าหรือเท่ากับ 19 มีอาการโรคซึมเศร้าระดับรุนแรง 3) แบบประเมินความรู้เรื่องโรคซึมเศร้ามีทั้งหมด 16 ข้อ มีข้อคำตอบถูกว่า "ใช่" จำนวน 13 ข้อ และมีข้อคำตอบกูกว่า "ไม่ใช่" จำนวน 3 ข้อ มีค่าคะแนนข้อละ 1 คะแนน 4) แบบประเมินความร่วมมือในการรับประทานยาคิดคะแนนน้อยกว่า 4 ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาไม่ดี คะแนนตั้งแต่ 4 ขึ้นไปความร่วมมือในการรักษายาดี ประเมินก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาและในระยะติดตามผล 3 เดือน โดยใช้โปรแกรม Statistics Package for the Social Science (SPSS) ข้อมูลความรู้โรคซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้า และความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเปรียบเทียบก่อนและหลังใช้สถิติ Friedman test ส่วนข้อมูลทางประชากรใช้สถิติเชิงพรรณนา เป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีค่าคะแนน (meam rank) ก่อนและหลังให้สุขภาพจิตศึกษาและในระยะติดตามผล 3 เดือน ด้านคะแนนความรู้คิดเป็น 1.12, และ 2.31 ด้านคะแนนภาวะซึมเศร้าคิดเป็น 2.62, 1.62 และ 1.75 และด้านคะแนนความร่วมมือในการรักาด้วยยาคิดเป็น 1.44, 2.12 และ 2.44 ตามลำดับ
สรุป: ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีค่าคะแนนภาวะซึมเศร้าและความร่วมมือในการรับประทานยาก่อนและหลังให้สุขภาพจิตศึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p=0.073 และ 0.069 มีเพียงคะแนนความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติ (p<0.01)

Keywords: การให้สุขภาพจิตศึกษา, ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ปีที่เผยแพร่/Year: 2560

Address: พยาบาลชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รองศาสตราจารย์ระดับ9 ภาควิชาจิตเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Code: 2017000076

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors