02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: ณิชวรรณ จงรักษ์ธนกิจ, ชาญวิทย์ พรนภดล, สิรินัดดา ปัญญาภาส

ชื่อเรื่อง/Title: ความน่าเชื่อถือและความแม่นตรงของแบบประเมินอาการวิตกกังวลในเด็กและวัยรุ่น

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ปีที่ 62, ฉบับที่ 3, กรกฎาคม-กันยายน 2560, หน้า 189-200.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ ศึกษาความน่าเชื่อถือ (reliability) และความแม่นตรง (validity) ของแบบประเมิน pediatric Anxiety Rating Scale (PARS) ฉบับภาษาไทย.
วิธีการศึกษา PARS เป็นเครื่องมือที่ให้แพทย์เป็นผู้ประเมินอาการ ความรุนแรงและความบกพร่องของโรควิตกกังวล หลังจากได้การอนุมัติจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้เขียนจึงได้ทำการแปล PARS จากต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยโดยใช้เทคนิคการแปลแบบแปลย้อนกลับ จากนั้นได้นำประชากรกลุ่มเฉพาะ (focus group) เพื่อตรวจสอบความเข้าใจภาษาของ PARS ฉบับภาษาไทย และได้มีการตรวจสอบความแม่นตรงด้านเนื้อหา (content validity) ด้วยการหาค่า content validation index (CVI) ผู้วิจัยประเมินความน่าเชื่อถือและความแม่นตรงของแบบประเมิน PARS ฉบับภาษาไทย โดยหาความน่าเชื่อถือจากการคำนวณค่าความสอดคล้องภายใน (internal consistency; Cronbach's alpha) ส่วนความแม่นตรงได้จากการคำนวณค่าความสัมพันธ์ของแบบประเมิน PARS ฉบับภาษาไทยเทียบกับ clinical global impression severity scale (CGI-S) โดยการหาค่า Pearson's correlation coefficient®
ผลการศึกษา ผู้ป่วยโรควิตกกังวลและโรคกลัวจำนวน 43 คน และผู้ปกครองจำนวน 45 คน ได้ร่วมในการสัมภาษณ์เพื่อทำแบบประเมิน PARS ฉบับภาษาไทยค่า CVI ของแบบประเมิน PARS ฉบับผู้ปกครองและเด็กโต และฉบับเด็กเล็กในแบบประเมิน PARS ภาษาไทยมีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านระหว่าง 0.97-0.99 ส่วนค่า Cronbach's alpha ของแบบประเมิน PASR ฉบับผู้ปกครอง ฉบับเด็กและฉบับผู้ประเมินเท่ากับ 0.867, 0.786 และ 0.830 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ (r) ระหว่างส่วนประเมินความรุนแรงของแบบประเมิน PARS ฉบับภาษาไทยและ CGI-S เท่ากับ 0.514 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันปานกลาง (moderate correlation)
แบบประเมินอาการและความรุนแรงของโรควิตกกังวลในเด็กและวัยรุ่น (PARS) ฉบับภาษาไทยมีความน่าเชื่อถือและความแม่นตรงอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถนำไปใช้ประเมินความรุนแรงของอาการวิตกกังวล เพื่อนำไปใช้ในการติดตามผลการรักษาในทางคลินิกและในการศึกษาโรควิตกกังวลในเด็กและวัยรุ่นต่อไป.

Keywords: แบบประเมิน, โรควิตกกังวล, เด็กและวัยรุ่น

ปีที่เผยแพร่/Year: 2560

Address: สาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Code: 2017000066

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors