02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: ชมพูนุช สุคนธวารี, ชนัฏธิดา เมืองคำ, พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ

ชื่อเรื่อง/Title: การวิเคราะห์รูปแบบการใช้ยาในผู้ป่วยที่เกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติกโดยใช้เทคนิคกฎความสัมพันธ์

แหล่งที่มา/Source: วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, ปีที่ 11, ฉบับที่ 1, 2560 หน้า 11.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์: เพื่อหาความสัมพันธ์รูปแบบการใช้ยาร่วมกันในผู่ปวยที่เกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติกในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โดยใช้การทำเหมืองข้อมูลแบบเทคนิคการใช้กฎความสัมพันธ์ในการหารูปบบการใช้ยาร่วมกัน
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาวิจัยแบบย้อนหลังจากฐานข้อมูลและเวชระเบียนของผู้ป่วยในของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาที่ได้รับการวิจฉัยว่าเกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติก ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 91 คน ที่ได้รับการวิจฉัยว่าเกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติกตามการบันทึกรหัสวินิจฉัยโรค (ICD10: G21.0) ใช้เทคนิคกฎความสัมพันธ์ด้วย apiriori algorithm ของโปรแกรมเวก้ามาใช้ในการศึกษารูปแบบการใช้ยา ซึ่งโปรแกรมเวก้าเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ algorithrm ที่กำหนดไว้ไปใช้ในการทำเหมืองข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
ผล: ผู้ป่วยในที่เป็นเกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติกจำนวน 41 คน เป็นเพศหญิง จำนวน 17 คน ร้อยละ 41.46 และเพศชายจำนวน 24 คน ร้อยละ 58.54 จากการศึกษารูปแบบการใช้ยา พบรูปแบบการใช้ยาร่วมกัน 5 รูปแบบดังนี้ 1) Perphenazine ตามด้วย Trihexyphenidyl 2) Diazepam ตามด้วย Trihexyphenidyl 3) Perphenazine ร่วมกับ Chlorpromazine ตามด้วย Trihexyphenidyl 4) Perphenazine ร่วมกับ Diazepam ตามด้วย Trihexyphenidyl และ 5) Chlorpromazine ตามด้วย Trihexyphenidyl ซึ่งรูปแบบการใช้ยาที่พบบ่อยที่สุดคือ Perphenazine ตามด้วย Trihexyphenidyl ร้ยอละ 60.98
สรุป: พบผู้ป่วยนิวโรเล็พติกในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา มีจำนวน 41 คน จากผู้ป่วยในทั้งหมด 29,792 คน คิดเป็นร้อยละ 0.14 และในผู้ป่วยที่เกิดอาการนิวโรเล็พติกพบว่ารูปแบบการใช้ยาร่วมกันที่พบบ่อยที่สุดคือการใช้ยา Perphenazine ตามด้วย Trihexyphenidyl ร่วมกัน และพบว่ามีรูปแบบที่มียา 2 รายการที่เป็นยากลุ่มต้านโรคจิตคือยา Perphenazine ยา Chlorpromazine ตามด้วย trihexyphenidyl ร่วมกัน ซึ่งรูปแบบนี้เป็นการใช้ยากลุ่ม typical antipsychotics ร่วมกัน ดังนั้นควรมีการเฝ้าระวังการเกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติกในผู้ป่วยที่มีการใช้ยากลุ่มดังกล่าวร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้ยารูปแบบดังกล่าวร่วมกัน

Keywords: กลุ่มอาการนิวเล็พติก, เทคนิคกฎความสัมพันธ์, รูปแบบการใช้ยา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2560

Address: เภสัชกร สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, จิตแพทย์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จ

Code: 2017000039

ISSN/ISBN: 1905-8586

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors