02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: กันยา พาณิชว์ศิริ, เบญจพร ตันตสูติ

ชื่อเรื่อง/Title: การติดสื่อสังคมออนไลน์และภาวะสมาธิสั้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร.

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ปีที่ 61, ฉบับที่ 3, กรกฎาคม-กันยายน 2559, หน้า 191.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดสื่อสังคมออนไลน์ และความสัมพันธ์ระหว่างการติดสื่อสังคมออนไลน์กับภาวะสมาธิสั้น ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร.
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลจากผู้ปกครองและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม 2559 ขนาดตัวอย่างจำนวน 601 ราย ได้รับแบบสอบถามตอบกลับจำนวน 428 ชุด ใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัวและรูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ แบบทดสอบการติดสื่อสังคมออนไลน์ (Social media addiction test) และแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้น SNAP-IV rating scale ฉบับภาษาไทย สำหรับผู้ปกครอง.
ผลการศึกษา พบความชุกของการติดสื่อสังคมออนไลน์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 17.6 จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าภาวะสมาธิสั้นมีความสัมพันธ์กับการติดสื่อสังคมออนไลน์ และเมื่อใช้การวิเคราะห์การถดถอยพบว่าการไม่มีภาวะสมาธิสั้นช่วยลดโอกาสการติดสื่อสังคมออนไลน์ได้ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่าปัจจัยอื่นๆ ที่ช่วยลดโอกาสการติดสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ ได้แก่ ระยะเวลาการใช้น้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน การไม่ใช้ Instageam การไม่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อแบ่งปันข้อความ/รูปภาพ และการไม่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อลืมความทุกข์.
สรุป การศึกษานี้พบความชุกของการติดสื่อสังคมออนไลน์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 17.6 รวมทั้งพบว่าภาวะสมาธิสั้นมีความสัมพันธ์กับการติดสื่อสังคมออนไลน์ โดยการไม่มีภาวะสมาธิสั้นช่วยลดโอกาสการติดสื่อสังคมออนไลน์ได้ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้พบปัจจัยหลายประการที่ช่วยลดโอกาสการติดสื่อสังคมออนไลน์ได้ ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อสร้างแนวทางควบคุมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะในวัยรุ่น ซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่การติดสังคมออนไลน์ต่อไป.

Keywords: การติดสื่อสังคมออนไลน์, ภาวะสมาธิสั้น, วัยรุ่น

ปีที่เผยแพร่/Year: 2559

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Code: 2017000029

ISSN/ISBN:

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors