02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: ประณีต ชุ่มพุทรา, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, ญาดา ธงธรรมรัตน์, ปริยา ประณีตพลกรัง

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาความชุกภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น ในเขตสุขภาพที่ 9

แหล่งที่มา/Source: วารสารสุขภาพจิตชุมชนแห่งประเทศไทย, ปีที่ 2, ฉบับที่ 1, ตุลาคม 2557-มีนาคม 2558, หน้า 43.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น
การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย เรื่องการป้องกันโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายหมายแบบเจาะจง (purpose sampling) โดยเลือกสถานศึกษา จำนวน 11 แห่งในจังหวัดนครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์และสุรินทร์ เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 9 แห่ง ระดับอุดมศึกษา 2 แห่ง จำนวน 1,188 คน ใช้เวลาเก็บข้อมูล รวม 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 โดยใช้แบบวัดความเครียดของกรมสุขภาพจิตและแบบวัดภาวะซึมเศร้า (BDI-II) เพื่อคัดกรองกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า คือ คะแนนความเครียดตั้งแต่ 18 คะแนนขึ้นไป และ/หรือ มีคะแนนภาวะซึมเศร้าตั้งแต่ 15 คะแนนขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผล พบว่า วัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นมีคะแนนความเครียดระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย ร้อยละ 23.90 ระดับความเครียดปานกลาง ร้อยละ 5.38 และมีระดับความเครียดมาก ร้อยละ 5.13 วัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นมีความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับเกณฑ์ปกติ (X=15.60, SD 7.184) และมีความชุกต่อภาวะเครียด ร้อยละ 34.42 ส่วนภาวะซึมเศร้า พบว่า วัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นมีคะแนนภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง ร้อยละ 19.95 ภาวะซึมเศร้าระดับสูง ร้อยละ 12.88 และภาวะซึมเศร้าระดับสูงที่สุด ร้อยละ 6.23 วัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นมีภาวะซึมเศร้าโดยรวมอยู่ในระดับเล็กน้อย (X=13.04, SD 7.905) มีความชุกต่อภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 39.05
ผลการศึกษาความชุกภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น พบร้อยละ 24.58 มีเฉพาะภาวะเครียด ร้อยละ 9.59 และมีเฉพาะภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 13.55 สรุปรวมความชุกของวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าสูงถึง ร้อยละ 47.72
สรุป วัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นเกือบครึ่งหนึ่งมีความชุกสูงที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นโรคที่เป็นภาระของโรคสูง การวางแผนการพัฒนาระบบการช่วยเหลือที่เหมาะสมอย่างเป็นระบบมีความสำคัญและจำเป็นมาก จะสามารถช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นได้

Keywords: ความชุก, ภาวะเครียด, ภาวะซึมเศร้า, วัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น

ปีที่เผยแพร่/Year: 2558

Address: โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์, สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Code: 2017000017

ISSN/ISBN:

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors