02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: ศิริณา ศรัทธาพิสิฐ, ทินกร วงศ์ปการันย์

ชื่อเรื่อง/Title: ชนิดของการไม่หลับและผลของการนอนไม่หลับต่อการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ปีที่ 62, ฉบับที่ 1, มกราคม-มีนาคม 2560, หน้า 47-58

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาชนิดและการเปลี่ยนแปลงการนอนไม่หลับในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (Dysthymia หรือ major depression disorder) ในกลุ่มที่อาการของโรคซึมเศร้าสงบและอาการไม่สงบ
วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการวิจัยผลการรักษาโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาล: การศึกษาแบบติดตามไปข้างหน้า" มีผู้ป่วย 224 คน ที่ได้รับการประเมินการนอนไม่หลับชนิดต่างๆ โดยใช้ 3 ข้อคำถามจาก Hamilton depressive rating scale-17 (HAMD-17) ในครั้งแรกของการรักษาและหลังจากได้รับการรักษาไปแล้ว 3 เดือน เปรียบเทียบความแตกต่างของความรุนแรงของการนอนไม่หลับแต่ละชนิดในกลุ่มที่อาการของโรคซึมเศร้าสงบและไม่สงบ
ผลการศึกษา ความชุกของการนอนไม่หลับในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจากการประเมินด้วย HAMD-17 เท่ากับร้อยละ 93 การนอนไม่หลับที่พบมากที่สุดคือชนิด simultaneous insomnia (มีทั้ง initial, middle และ ค่าคะแนนเฉลี่ยลดลงในกลุ่มอาการสงบมากกว่ากลุ่มที่อาการยังไม่สงบ (mean difference =-1.76, 95% Confidence Interval =-0.24 ถึง -1.19) การนอนไม่หลับทั้ง initial, middle และ terminal เป็นปัจจัยสำคัญในการทำนายค่าคะแนน HAMD-17 ตลอดระยะเวลาการรักษา (p<.0001)
สรุป การนอนไม่หลับชนิด simultaneous insomnia พบมากที่สุดในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและเมื่อทำการรักษาไปแล้วยังพบ simultaneous insomnia มากที่สุดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของการนอนไม่หลับนั้นลดลงในกลุ่มที่อาการสงบมากกว่ากลุ่มไม่สงบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Keywords: นอนไม่หลับ, ชนิด, โรคซึมเศร้า, อาการสงบ, การรบกวนการนอนหลับ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2560

Address: กลุ่มงานจิตเวชโรงพยาบาลขอนแก่น

Code: 2017000046

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors