02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน, ชัยพร ยิ่งเจริญพาสุข

ชื่อเรื่อง/Title: ระบาดวิทยาการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวช

แหล่งที่มา/Source: การสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 17, ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร, 19-21 พฤษภาคม 2547, หน้า 31--32

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล 1 ใน 10 อันดับของโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก คือ การฆ่าตัวตาย อัตราการตายของประชากรไทย ร้อยละ 15 ต่อ 100,000 ราย) มีสาเหตุจากการบาดเจ็บ ฆ่าตัวตาย และถูกฆ่าตัวตาย อัตราการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวชพบ 13.7 (95% CI 11.7-16.1) ต่อผู้ป่วยที่รับไว้รักษา 10,000 ราย มีแผนการฆ่าตัวตาย ร้อยละ 4.1 พยายามฆ่าตัวตาย ร้อยละ 4.9 และ 1 ใน 8 จะเสียชีวิตจากการพยายามฆ่าตัวตาย พฤติกรรมที่สัมพันธ์ต่อการพยายามฆ่าตัวตาย คือ พฤติกรรมส่วนบุคคล และพฤติกรรมการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นไม่ดี ไม่ปรึกษาใครเมื่อทุกข์ใจ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวช วิธีการศึกษา เป็นการศึกษา Hospital-based แบบ cross-sectional study กลุ่มตัวอย่างได้มาแบบ Purposive sampling เป็นผู้ป่วยใหม่ และผู้ป่วยเก่าคงพยาบาลทุกรายที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจิตเวช 12 แห่ง สังกัดกรมสุขภาพจิต ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2546-30 มิถุนายน 2546 กลุ่มศึกษาทั้งหมด 12,356 ราย เก็บข้อมูลการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวช และวิเคราะห์อัตราการฆ่าตัวตายในแต่ละโรงพยาบาลจิตเวชด้วยความถี่ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา มีการพยายามฆ่าตัวตายในขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชทั้ง 12 แห่ง จำนวน 11 ราย เป็นการพยามยามฆ่าตัวตาย 10 ราย และฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 ราย โรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายมากที่สุดคือ โรงพยาบาลศรีธัญญา ร้อยละ 36.4 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 54.5 พบมากที่สุดในอายุ 30 ปี ร้อยละ 27.3 อายุต่ำสุด 21 ปี สูงสุดอายุ 37 ปี อายุเฉลี่ย 28.09 ปี สถานภาพสมรสโสด ร้อยละ 63.6 ไม่ได้เรียนหนังสือ ร้อยละ 54.5 และส่วนใหญ่ว่างงาน ร้อยละ 45.5 และส่วนใหญ่เป็นญาติมาส่งที่โรงพยาบาล ร้อยละ 81.8 ส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยโรคว่าเป็น Sxhizophrenia unspecified ร้อยละ 63.6 รองลงมาเป็น Depressive disorder ร้อยละ 18.2 ทั้งหมดเป็นการพยายามฆ่าตัวตายครั้งที่ 1 ในช่วงเวลา 00.00-15.00 น. พบมากที่สุดในเวลา 10.00 น. วิธีการที่ใช้ฆ่าตัวตายมากที่สุด คือ การผูกคอ ร้อยละ 36.4 รองลงมาใช้ของมีคมกรีดคอและข้อมือ ร้อยละ 18.2 สถานที่เกิดเหตุมากที่สุดคือ ห้องน้ำผู้ป่วยพบร้อยละ 27.3 บุคคลแรกที่พบผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตายมากที่สุดคือ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ร้อยละ 54.5 พฤติกรรมที่พบขณะรักษาในโรงพยาบาลก่อนฆ่าตัวตายพบมากที่สุดคือ ผู้ป่วยมีพฤติกรรมซึม ไม่ค่อยพูด แยกตัวเอง อยู่คนเดียว ร้อยละ 54.5 รองลงมาคือมีประสาทหลอนทางหูได้ยินเสียงบอกให้ทำร้ายตนเอง และทำกิจวัตรประจำวัน ด้วยท่าทีเชื่องช้าเหม่อลอย พยายามฆ่าตัวตาย ร้อยละ 45.5 และส่วนใหญ่หลังจำหน่ายกลับบ้านจะนัดมาตรวจ ร้อยละ 45.5 สรุป การพยายามและฆ่าตัวตายของผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวช ที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ กลุ่มวัยทำงาน ที่ป่วยเป็นโรค Schizophrenia เกิดอุบัติการณ์มากที่สุดในช่วงเวรเช้า และเกิดที่บริเวณห้องน้ำโดยอุปกรณ์ที่ใช้ผูกคอได้

Keywords: ระบาดวิทยาการฆ่าตัวตาย, ผู้ป่วยโรงพยาบาลจิตเวช

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี

Code: 20040000227

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับการคัดเลือกนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการ

Download: -

 

Preset Colors