02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: สุภาสิณี นุ่มเนียม

ชื่อเรื่อง/Title: ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

แหล่งที่มา/Source: รางวัลผลงานการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทยประจำปี 2547, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช), 2547 หน้า 35-54

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาปัจจัยเชิงเหตุที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่อยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ต่างกันมากน้อยเพียงใด เพราะเหตุใด 2) เพื่อศึกษาว่านักเรียน ที่อยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และมีจิตลักษณะที่แตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ต่างกันมากน้อยเพียงใด เพราะเหตุใด กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ปีการศึกษา 2545 ทั้งชายและหญิง จำนวน 576 คน ลักษณะของการวิจัยเป็นการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลกระทำทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยที่แบ่งโดยลักษณะทางชีวสังคมและภูมหลังของนักเรียน สถิติหลักที่ใช้คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง และการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณและสถิติชั้นรองคือ การเปรียเบทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ๋ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลจากการวิจัย ที่สำคัญมี 4 ประการ ดังต่อไปนี้ 1) นักเรียนโดยรวมที่อยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะสม 1 ใน 4 ด้าน ต่อไปนี้คือ ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนใช้เหตุผลมาก มีแบบอย่างที่เหมาะสมมาก มีปฏิสัมพันธ์กับครูแบบประชาธิปไตยมาก หรือได้รับการฝึกฝนให้ทำหน้าที่มาก เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ในครอบครัวและในโรงเรียนมากกว่านักเรียนประเภทตรงข้าม 2) นักเรียนโดยรวมที่มีจิตลักษณะสูง 1 ใน 4 ด้าน ต่อไปนี้คือ มีสุขภาพจิตดีมาก มีความตระหนักในเรื่องหน้าที่มาก มีการมุ่งอนาคตควบคุมตนมาก หรือมีความเชื่ออำนาจในตนมาก เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ในครอบครัว และในโรงเรียน มากกว่านักเรียนประเภทตรงข้าม 3) ตัวแปรกลุ่มลักษณะสถานการณ์ 4 ตัวแปร ร่วมกับตัวแปรจิตลักษณะ 6 ตัวแปร รวมเป็น 10 ตัวแปร สามารถทำนายพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ในครอบครัว และพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ในโรงเรียนของนักเรียนกลุ่มรวมได้ 47.6% และ 63.9% ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าตัวแปรกลุ่มดังกล่าวสามารถทำนายพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ในครอบครัวและพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ในโรงเรียนได้สูงที่สุด ในกลุ่มนักเรียนที่ไม่ใช่บุตรคนแรก ได้แก่ ทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ และความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ 4) นักเรียนที่มีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ในครอบครัวและในโรงเรียนน้อย ได้แก่ นักเรียนชาย และนักเรียนที่มีผลการเรียนไม่ดี

Keywords: พฤติกรรม, นักเรียน, การอบรม, สุขภาพจิต, ครอบครัว, จิตลักษณะ, จิตวิทยา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา

Code: 20040000191

ISSN/ISBN: 974-326-260-1

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Original article รางวัลผลงานการวิจัยและพัฒนาระบ

Download: -

 

Preset Colors