02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: รุ่งฤดี เช้นนันท์, นวลละหงษ์ ณ เชียงใหม่, สมศักดิ์ นาคกลุ่นกูล, เจริญศรี แซ่ตั้ง, ปิยะดา คุณาวรารักษ์, ชวลิต นาถประทาน

ชื่อเรื่อง/Title: ผลกระทบการให้สุขศึกษาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศ (ที่ปลอดภัย) ในกลุ่มชายขายบริการ จังหวัดเชียงใหม่

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 4, 6-8 กันยายน 2538

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล จากสภาพปัญหาของการติดเชื้อเอดส์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน พบว่ากว่าร้อยละ 80 มีสาเหตุเนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยมีแหล่งแพร่เชื้อไวรัสเอดส์ที่สำคัญ คือ สถานบันเทิง หรือสถานบริการทางเพศในรูปแบบต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมา ผู้คนมักมองว่าสถานบริการหรือสถานบันเทิงเหล่านี้จะมีหญิงเป็นผู้ให้บริการและชายเป็นผู้ใช้บริการ แต่ปัจจุบันนี้มีสถานบันเทิงเป็นจำนวนมากที่ผุดขึ้นมา และมีชายเป็นผู้ให้บริการทางเพศ จึงนับได้ว่ามีแหล่งแพร่เชื้อไวรัสอีกประเภทหนึ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งสมควรที่จะให้ความสนใจที่จะหาวิธีการให้สุขศึกษาแก่กลุ่มชายขายบริการเหล่านั้นให้มีพฤติกรรมที่ปลอดภัยต่อการติดเชื้อเอดส์ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงผลกระทบการให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์เรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอดส์ในกลุ่มชายขายบริการจังหวัดเชียงใหม่ วิธีดำเนินการ จัด Mobile Team เพื่อเข้าไปให้สุขศึกษาแก่กลุ่มชายขายบริการพร้อมกับทีมเจาะเลือดเพื่อหาเชื้อเอดส์ สำหรับการเฝ้าระวังการติดเชื้อเอดส์ เฉพาะพื้นที่ในกลุ่มชายขายบริการในทุกแหล่งบริการเกย์ของจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงเดือนมิถุนายน 2536 และเดือนธันวาคม 2536 โดยจะมีการให้สุขศึกษาในเรื่องกามโรคและโรคเอดส์ และทำ Group Pre-test counseling ก่อนดำเนินการเจาะเลือดหลังจากที่ทุกคนได้รับการเจาะเลือดและสัมภาษณ์ถึงพฤติกรรมการป้องกันตนเอง จากการติดเชื้อเอดส์แล้วจะทำกลุ่มสาธิตถึงวิธีการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกวิธีและเกมส์การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติตนที่ถูกวิธี จนกลุ่มชายขายบริการทุกคนสามารถให้คำตอบในเกมส์นั้นได้ คือได้ทางเลือกที่ถูกต้องและปลอดภัยจากการติดเชื้อเอดส์ ก็มีการนัดหมายให้กลุ่มชายขายบริการทุกคนไปฟังผลเลือดที่เอื้องผึ้งคลินิก ซึ่งจะมีบริการด้าน Post counseling ต่อเนื่อง ผลการศึกษากลุ่มชายขายบริการที่ได้รับความรู้ และรับการตรวจเลือดดังกล่าวข้างต้นมีจำนวน 107 คน ในเดือนมิถุนายน 2536 และ 121 คนในช่วงเดือนธันวาคม 2536 ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 20 ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาถึงกว่าร้อยละ 80 ขายบริการร้อยละ 80 อยู่ในภาคเหนือ ร้อยละ 20 มาจากภาคอีสานและภาคกลางกว่าร้อยละ 70 ทำงานมาแล้วมากกว่า 6 เดือน และมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 3,000 บาท/เดือน กว่าร้อยละ 80 ยังเป็นโสด และกลุ่มชายขายบริการที่กล่าวมาทั้งหมดมีพฤติกรรมทางเพศร่วมกับเพศชายด้วยกันด้วยวิธีเป็นฝ่ายสอดใส่ร้อยละ 65 เป็นฝ่ายสอดใส่ (รุก) ร้อยละ 15 และเกือบร้อยละ 20 ที่ระบุว่าสามารถเป็นฝ่ายรุกหรือรับก็ได้ และพบว่าแนวโน้มของการมีพฤติกรรมป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอดส์ในกลุ่มชายขายบริการนี้ดีขึ้น กล่าวคือ - มีการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 38 ในเดือนมิถุนายน 2536 สูงเป็นร้อยละ 52.4 ในช่วงเดือนธันวาคม 2536 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P‹0.05) - อัตราการไปรับฟังผลเลือด ซึ่งแสดงถึงความตระหนักหรือสนใจต่อการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยจากการติดเชื้อเอดส์สูงขึ้น กล่าวคือจากร้อยละ 35.5 ในเดือนมิถุนายน 2536 เป็นร้อยละ 40.7 ในเดือนธันวาคม 2536 - จำนวนผู้ที่ได้ไปฟังผลเลือดและได้รับการให้คำปรึกษาจนมีการตัดสินใจเปลี่ยนลักษณะทำงานด้านนี้เลย กว่าร้อยละ 80 ของผู้ที่มีผลเลือดบวก สรุป แม้ว่าอัตราเพิ่มของการให้ถุงยางอนามัยจะสูงขึ้นแต่ยังสูงไม่ถึงระดับที่พึงพอใจ อย่างไรก็ตามก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าวิธีการให้ความรู้ดังกล่าวโดยวิธีข้างต้นจะมีประสิทธิภาพที่ต่ำได้ ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มที่ได้รับการสัมภาษณ์ในช่วงเดือนธันวาคม 2536 เป็นกลุ่มที่เคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ หลังช่วงมิถุนายน 2536 ถึงร้อยละ 60

Keywords: AIDS, behavior, behaviour, HIV, psychology, sex, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศ, พฤติกรรม, เพศ, โรคเอดส์, เอดส์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2538

Address: สำนักงานควบคุมโรคติดต่อเขต 10 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข

Code: 200380004017

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข

Download: -

 

Preset Colors