02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: สมหมาย เลาหะจินดา, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ

ชื่อเรื่อง/Title: ปัญหาอุปสรรคและความต้องการของแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในเขตการสาธารณสุขที่ 8,9,10 ต่อการให้บริการสุขภาพจิต

แหล่งที่มา/Source: วารสารสวนปรุง ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 พ.ศ.2539,4-19

รายละเอียด / Details:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และความต้องการของแพทย์ และพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8, 9, 10, ต่อการบริการสุขภาพจิต ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนทุกโรงพยาบาลในเขต 8, 9, 10, ในช่วงที่ทำการเก็บข้อมูล จำนวน 840 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบผสม (Multistage Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างคือ แพทย์จำนวน 200 คน พยาบาลวิชาชีพ 320 คน พยาบาลเทคนิค 320 คน จาก 151 โรงพยาบาลชุมชนในเขต 8, 9, 10, เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบคำถามปลายปิดให้เลือกตอบ และคำถามชนิดมาตราช่วง (Lisert Scale) โดยผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งทางไปรษณีย์ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา ทั้งหมดร้อยละ 83.93 ประกอบด้วยแพทย์ 152 คน (ร้อยละ 76.00) พยาบาลวิชาชีพ 283 คน (ร้อยละ 88.4) และพยาบาลเทคนิค 270 คน (ร้อยละ 84.38) แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC+ โดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว (One Way Analysis of Variance) การทดสอบ ความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธี LSD (Least Significant Difference) และการทดสอบเปรียบเทียบค่า t (T-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการขาดแคลนปัจจัยในการดำเนินสุขภาพจิตในโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8, 9, 10, มีดังนี้ 1.1 หมวดคนหรือบุคลากร โรงพยาบาลชุมชนในเขต 8, 9, 10, ส่วนใหญ่มีปัจจัยทางด้านบุคลากรจำนวนน้อย เมื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบสรุปว่าเป็นปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 1.2 หมวดงบประมาณ โรงพยาบาลชุมชนในเขต 8, 9, 10, ส่วนใหญ่มีปัจจัยทางด้านงบประมาณจำนวนน้อย เมื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบสรุปว่าเป็นปัญหาอยู่ในระดับน้อย 1.3 หมวดวัสดุอุปกรณ์ โรงพยาบาลชุมชนในเขต 8, 9, 10,ส่วนใหญ่มีปัจจัยทางด้านวัสดุ อุปกรณ์จำนวนน้อย เมื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบสรุปว่าเป็นปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 1.4 หมวดการจัดการ โรงพยาบาลชุมชนในเขต 8, 9, 10, ส่วนใหญ่มีปัจจัยทางด้านการจัดการจำนวนน้อย เมื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบสรุปว่าเป็นปัญหาอยู่ในระดับน้อย 1.5 หมวดเทคโนโลยี โรงพยาบาลชุมชนในเขต 8, 9, 10, ส่วนใหญ่มีปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีจำนวนน้อย เมื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบสรุปว่าเป็นปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 2. แพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8, 9, 10, มีความต้องการปัจจัยในการดำเนินงานสุขภาพจิต ทั้งหมวดบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การจัดการ และเทคโนโลยีอยู่ในระดับมาก 3. แพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8, 9, 10, ส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงบวกต่องานสุขภาพจิต และไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริการสุขภาพจิต 4. ความแตกต่างของตำแหน่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานสุขภาพจิตของโรงพยาบาลชุมชนใน เขต 8, 9, 10, 5. ความแตกต่างของการนิเทศงานสุขภาพจิต ไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานสุขภาพจิตของโรงพยาบาลในเขต 8, 9, 10, 6. ความแตกต่างของการได้รับการศึกษา/อบรมเพิ่มเติมด้านสุขภาพจิต และ จิตเวชเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานสุขภาพจิตชุมชนในเขต 8, 9, 10, 7. การมีหรือไม่มีแผนงานสุขภาพจิตเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานสุขภาพจิตของโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8, 9, 10, จากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านสุขภาพจิต ควรจะได้มีการสนับสนุน และส่งเสริมให้บุคลากรของโรงพยาบาล ได้รับการศึกษา/อบรมเพิ่มเติม ด้านสุขภาพจิตและ จิตเวช ตลอดจนการนิเทศงาน การถ่ายทอดและสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่น

Keywords: โรงพยาบาลชุมชน, บุคลากรสาธารณสุข, บริการสุขภาพจิต, สุขภาพจิต, ชุมชน, จิตวิทยา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2539

Address: กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลสวนปรุง

Code: 105391204026

ISSN/ISBN: 0857-2127

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: -

 

Preset Colors