02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: นันทา อักษรแก้ว

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาภาวะสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 44.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน ก่อให้เกิดปัญหาและส่งผลต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด เพศ เสร ความรุนแรงในพฤติกรรม และอารมณ์ ปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ เช่น ภาวะอารมณ์แปรปรวน ภาวะซึมแศร้า ลดความคิด หรือพยายามฆ่าตัวตาย ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลปัตตานี เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ภาวะสุขภาพจิต เกี่ยวกับอาการของโรคประสาท (วิตกกังวล, เครียด) ภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ประชากรที่ศึกษาได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 สุ่มตัวอย่างโดยวิธี Cluster Random Sampling ตามตารางของ Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 367 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสัมภาษณ์ ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงกรกฎาคม 2547 การวิเคราะห์ใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 14-16 ปี นับถือศาสนาพุทธ ได้รับเงินต่อเดือนต่ำกว่า 1,000 บาท การใช้จ่ายเงินงบประมาณครึ่งหนึ่งพอมีพอใช้ พักอาศัยอยู่กับบิดา มารดา ส่วนน้อยพักอาศัยอยู่ในสถานสงเคราะหืเด็กปัตตานี การศึกษาของบิดา มารดา ระดับประถมศึกษา รองลงมา ปริญญาตรี อาชีพบิดารับราชการ มารดาค้าขาย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้จัก และใช้บริการคลินิกคลายเครียด และบริการการปรึกษา การใช้สารเสพติด พบจพนวนน้อย ชนิดของสารเสพติดที่ใช้ คือ บุหรี่ กัญชา ยาไอ ยาบ้า และยาอีภาวะสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่าง คะแนนเฉลี่ยทั้ง 3 อาการ คือ อาการของโรคประสาท ภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย อยู่ในระดับ "ไม่มี" แต่เมื่อพิจารณาลงในรายละเอียดขอแต่ละบุคคล พบว่า "มี" อาการของโรคประสาท ที่พบ 3 อันดับแรก คือ รู้สึกกลุ้มใจ เหนื่อยง่าย และปวดศีรษะบ่อยๆ ภาวะซึมเศร้า อาการที่พบมาก คือ หลงลืมง่าย รู้สึกสูญเสียความเชื่อมั่นในตัวเอง และคิดอะไรไม่ค่อยออก ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย อาการหรือเหตุการณ์ที่พบมาก คือ สีหน้าเป็นทุกข์ หม่นหมอง รองลงมา มีเรื่องกดดัน/คับข้องใจ และมีการสูญเสียของรัก ผลการศึกษา นอกจากจะได้ข้อมูลพื้นฐานแล้ว ยังเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า มีนักเรียนอีกจำนวนมากที่ต้องการการดูแลช่วยเหลือทางด้านจิตใจ และเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการจัดกิจกรรมดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต และการป้องกันปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษาคู่เครือข่าย มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ให้วัยรุ่นและเยาวชน ในและนอกสถานศึกษารับรู้ และสนใจ การใช้บริการด้านสุขภาพจิต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และภาวะสุขภาพจิตให้ดีขึ้น

Keywords: สุขภาพจิต, พฤติกรรม, ซึมเศร้า ,แปรปวน, เครียด, วิตกกังวล, ฆ่าตัวตาย, จิตเวช, ความรุนแรง, อารมณ์, ปัญหา, วัยรุ่น, สิ่งแวดล้อม, ยาเสพติด, นักเรียน

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: โรงพยาบาลปัตตานี

Code: 2005000047

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -

 

Preset Colors