02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: ไพลิน ปรัชญคุปต์, ดวงพร หน่อคำ, สุพาณี ภูหนองโองและคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การทำหน้าที่ของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 141.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การเจ็บป่วยด้ายโรคจิตเวชก่อให้เกิดการสูญเสียทั้งกับผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติโดยเฉพาะเมื่อมีการเจ็บป่วยเรื้อรัง ก่อให้เกิดความเสื่อมถอยของบุคลิกภาพ ครอบครัวสูญเสียรายได้ ต้องรับภาระในการดูแล บางครั้งเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ในการรักษา ทอดทิ้งผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม คณะวิจัยจึงทำการศึกษาเรื่องการทำหน้าที่ของครอบครัวในการดูแลป่วยจิตเวชที่บ้าน ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในชมรมสายใย-สายสัมพันธ์ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการทำหน้าที่ของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในชมรมสายใย-สายสัมพันธ์ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และนำผลการศึกษามาจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้ป่วยต่อไป ขอบเขตการวิจัย ครอบครัวของผู้ป่วยจิตเวชที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในชมรมสายใย-สายสัมพันธ์โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ระเบียบวิธีวิจัย ครอบครัวของผู้ป่วยจิตเวชที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในชมรมสายใย-สายสัมพันธ์โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ จำนวน 120 คน ที่มาเข้าร่วมในชมรมสายใย-สายสัมพันธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามทั่วไปและแบบประเมินการทำหน้าที่ครอบครัวของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS v.12 สรุปผลการวิจัย ผลการศึกษา พบว่า การทำหน้าที่ของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-50 ปีมากที่สุด จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา มีรายได้โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ ต่ำกว่า 5,000 บาท/เดือน/ครอบครัว ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการทำหน้าที่ของครอบครัว พบว่า การทำหน้าที่ของครอบครัวในด้านการแก้ปัญหา การสื่อสาร บทบาท การตอบสนองทางอารมณ์ การควบคุมพฤติกรรม อยู่ระดับปานกลาง ความผูกพันทางอารมณ์ และการทำหน้าที่ทั่วไปอยู่ในระดับน้อย ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดกิจกรรมโดยการเน้นให้ครอบครัวและสมาชิกในครอบครัวมีความสนใจผู้ป่วยจิตเวช และมีการสื่อสารที่ตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม และควรมีการศึกษาวิจัยในกลุ่มตัวอย่างเฉพาะโรคลงไป

Keywords: ผู้ป่วยจิตเวช, การดูแล, ครอบครัว, โรคจิตเวช, ชมรมสายใยสายสัมพันธ์, โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น, โรคจิต, สุขภาพจิต, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

Code: 2006000167

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -

 

Preset Colors