02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: วัณเพ็ญ บุญประกอบ, ศศิธร ไพทีกุล

ชื่อเรื่อง/Title: เด็กที่มีเชาวน์ปัญญาสูงกับปัญหาการเรียนเปรียบเทียบกับเด็กที่มีผลการเรียนต่ำและไม่มีปัญหาเรียน.

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 34 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2532,273-285

รายละเอียด / Details:

จากการศึกษาเด็กที่มีเชาวน์ปัญญามากกว่า 110 ขึ้นไป จำนวน 48 ราย พบอัตราส่วน เด็กชายต่อหญิงเท่ากับ 10:1 พบปัญหาการเรียนครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด โดยเริ่มพบตั้งแต่ ชั้น ป.1-2 พ่อแม่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุปริญญาขึ้นไป และมีเศรษฐฐานะระดับปานกลาง เด็กเชาวน์ปัญญาสูงที่มีปัญหาการเรียนพบว่าเพียงร้อยละ 26 เท่านั้น ที่มีสาเหตุจากความบกพร่องของสมอง โดยส่วนใหญ่จะเป็นปัญหา พฤติกรรมต่อต้าน ก้าวร้าว เกเร มีอารมณ์เศร้า หรือวิตกกังวล ขาดความมั่นใจ เมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำ กับ กลุ่มที่ไม่มีปัญหาการเรียน แต่มีปัญหาจิตเวชอื่น ๆ พบลักษณะแตกต่างชัดเจน ดังนี้ คือ กลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำ มาจาก ครอบครัวที่ไม่ปรองดอง แม่มีปัญหาทางอารมณ์กับเด็ก เด็กถูกบังคับลงโทษ เคี่ยวเข็ญเกี่ยวกับเรื่องเรียน และมักถูกลงโทษทางด้านร่างกายอย่างรุนแรงและถูกทอดทิ้ง จากการศึกษาพบว่า ผลการเรียนมิได้ขึ้นอยู่กับเชาวน์ปัญญาอย่างเดียว ท่าทีการปฏิบัติของพ่อแม่ ต่อเด็กนั้น มีความสำคัญกว่ามาก การเรียนเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในวัยเด็ก พ่อแม่จะต้องให้เด็กได้จบอย่างน้อยการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งปัจจุบันเป็นการจบชั้นประถมปีที่ 6 แต่ในระยะ 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้ พ่อแม่ผู้ปกครองและครูให้ความสำคัญต่อการเรียนของเด็กขึ้นไปอีกมากเด็ก ๆ พบเนื้อหาการเรียนเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ได้เรียนพิเศษตั้งแต่ชั้นอนุบาลและชั้นประถมต้น ผู้ใหญ่ให้ความเอาใจใส่จนเรื่องการเรียนกลายเป็นความกดดันต่อเด็ก โดยมีจุดมุ่งหวังให้เรียนดีเพื่อที่กาลข้างหน้าจะได้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ และก็เป็นค่านิยมของเด็กกลุ่มใหญ่ ที่จะสอบเทียบข้ามชั้น และสอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัยด้วย เด็กได้รับการกระตุ้นทางสมองโดยได้รับสัมผัสการเรียนรู้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ แล้วด้วยความเข้าใจว่าจะเป็นการช่วยให้เด็กฉลาดขึ้น พ่อแม่ส่วนใหญ่จะเลี้ยงเด็กให้ได้รับอาหารที่ดีแต่เบื้องต้น และมีเครื่องเล่นอุปกรณ์ให้เด็กเล่น พร้อมทั้งการนำเด็กเข้าเรียนอนุบาลตั้งแต่อายุยังน้อยมาก บางโรงเรียนก็มีการสอนของการเรียนจริง ๆ มากกว่าการเตรียมความพร้อมในเด็ก และพบว่า มีเด็กบางจำพวกที่สามารถเรียนได้จำได้ดี จนบางคนเริ่มเข้าเรียนชั้นประถมหนึ่งก่อนวัยที่กำหนด เช่น ก่อนวัย 6 ปี เป็นต้น ในการทำงานเกี่ยวกับเด็กที่มีปัญหาทางจิตเวชพบว่า มีเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนอยู่ไม่น้อย พ่อแม่หรือครูมักจะส่งเด็กมาตรวจ เนื่องจากเด็กไม่สนใจเรียน ไม่ตั้งใจ ก่อกวนชั้นเรียนเหม่อลอย สอนไม่จำการเรียนไม่ดี สงสัยว่าเป็นเด็กปัญญาอ่อน บางคนการเรียนตกต่ำลงเรื่อย ๆ บางคนมีปัญหาการขาดเรียนบ่อย ไม่ยอมไปโรงเรียน เป็นต้น พ่อแม่ผู้ปกครองมักจะแสดงความเดือดร้อน วิตกกังวล และไม่พอใจกับการเรียนของเด็กอย่างมาก คนทั่วไปมักจะเพ่งเล็งและเข้าใจว่า เด็กที่จะเรียนดีนั้นจะต้องมีเชาวน์ปัญญาดี และมีความฉลาดเป็นหลักในการเรียนหนังสือ แต่ความเป็นจริงนั้น ปัญหาที่ทำให้เด็กเรียนไม่ดียังมีเรื่องอื่น ๆ อีกมากที่จะต้องพร้อม ๆ เพื่อที่จะเข้าใจถึงปัญหานี้ได้ชัดแจ้ง จึงได้ทำการสำรวจผลของการตรวจเชาวน์ปัญญา (Intelligent Quotient test) ในเด็กที่มาตรวจที่หน่วยจิตเวช และพบว่ามีเด็กจำนวนหนึ่งที่มี เชาวน์ปัญญาสูงเกินปกติ แต่เรียนหนังสือไม่ได้ดี หรือสอบไม่ผ่านบางคนพ่อแม่และครูเข้าใจว่า เด็กมีเชาวน์ปัญญาต่ำ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเหตุกระตุ้นให้คณะผู้รายงานนำปัญหาของเด็กกลุ่มนี้มาศึกษาให้ชัดเจน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. ศึกษาเด็กที่มีระดับเชาวน์ปัญญาสูงเกินเกณฑ์ที่เฉลี่ย คือ มี I.Q. ตั้งแต่ Bright Normal ขึ้นไป (I.Q.>110) ว่าเป็นกับเด็กกลุ่มใด โดยศึกษาเรื่อง เพศ อายุ ชั้นเรียน เศรษฐฐานะ และการศึกษาของพ่อแม่ 2. อาการแสดงของเด็กที่เป็นปัญหานำให้มาพบแพทย์ 3. ปัญหานี้มีอะไรบ้างที่นำไปสู่การเรียนที่ล้มเหลว 4. คาดหวังว่า ผลที่ได้รับจะมาเป็นปัจจัยช่วยให้นำไปสู่การเข้าใจ และป้องกันไม่ให้เกิดความล้มเหลวในการเรียน

Keywords: เชาวน์ปัญญา, ปัญหาทางจิตเวช, จิตวิทยา, จิตเวช, จิตเวชเด็ก, จิตเวชศาสตร์, เด็ก, โรงเรียน, ภาวะสุขภาพจิตเด็ก, สุขภาพจิต, intelligence, IQ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2532

Address: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Code: 100323404031

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format

 

Preset Colors