02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: บุญชับ นวมงคลวัฒนา, ภูมิพงศ์ ขุนฉนมฉ่ำ

ชื่อเรื่อง/Title: การประเมินผลระบบการดูแลเด็กและเยาวชนสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนแห่งหนึ่งในประเทศไทย

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการร่วมระหว่างหน่วยงานภายใต้กลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนงานบริการสุขภาพ ครั้งที่ 2 "สาธารณสุขไทยในยุคเปิดเสรีทางการค้า" วันที่ 3-4 พฤษภาคม 2547 ณ โรงแรมเดอะแอมบาสเดอร์, หน้า 66

รายละเอียด / Details:

การประเมินผลครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อประเมินกระบวนการพัฒนาระบบการดูแลเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นการศึกษาระยะยาวร่วมกับการศึกษาภาคตัดขวางโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพใช้การประเมินด้วยเทคนิค Auto-Evaluation และประเมินผลภาพรวม โดยใช้กรอบแนวคิดการประเมินตามทฤษฎีระบบ มีปัจจัยนำเข้า ได้แก่ โครงสร้างองค์กร นโยบายและงบประมาณ บุคลากรผู้ดูแล เด็กและเยาวชน และสภาพแวดล้อม ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดูแลเด็กและเยาวชน ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในประสิทธิผลของกระบวนการดูแลเด็กและเยาวชน เด็กได้รับการดูแลอย่างสมศักดิ์ศรี เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน มีศรัทธาในตนเอง รู้สึกมีคุณค่ามีความภาคภูมิใจในตนเอง และเกิดการยอมรับของครอบครัวและชุมชน ผลการวิจัยโดยสรุปมีดังนี้ 1. เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ลงตัวในโครงสร้างองค์กร มีนโยบายที่ชัดเจนในการปฏิบัติงานบุคลากรในองค์กรมีแรงจูงใจในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน มีทัศนะต่อเด็กและเยาวชนในทางที่ดีมากขึ้น สิ่งแวดล้อมมีความสะอาด เป็นระเบียบ สวยงาม ก่อให้เกิดสุขภาพจิตที่ดีทั้งเด็กและเยาวชน และบุคลากรผู้ดูแล 2. การร่วมคิดร่วมทำให้เกิดผลสำเร็จในการพัฒนา เกิดจากการยอมรับ และกล้าเผชิญของผู้บริหาร ความร่วมมือกันระหว่างผู้บริหาร และบุคลากรในองค์กร สัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นของบุคลากรในองค์กร และการยึดมั่นในอุดมการณ์และเป้าหมายในการพัฒนา 3. การพัฒนาจาก "รากหญ้า" สู่ "นโยบาย" เป็นผลจากการมีการปฏิรูประบบราชการทำให้องค์กร มีระบบการบริหารงานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีการประสานงานเพื่อการพัฒนาระหว่างกรมสุขภาพจิต และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีการนำจุดเด่นของผลการศึกษาวิจัยไปนำเสนอในระดับกรมและกระทรวง เพื่อให้เกิดโอกาสในการพัฒนามากยิ่งขึ้น รวมถึงการที่บุคลากรมีความตั้งใจและมีความกระตือรือร้นในการพัฒนา องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาระบบการดูแลเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนครั้งนี้คือ 1. การประสานงานความร่วมมือกันระหว่างนักวิจัยและผู้มีส่วนได้เสียในองค์กร 2. การแก้ไขปัญหาจะต้องลงมือปฏิบัติตามแผน 3. การประเมินผลการปฏิบัติและปรับเปลี่ยนแผน 4. การสรุปผลการปฏิบัติ 5. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

Keywords: เด็ก, เยาวชน, สถานพินิจ, พฤติกรรม, สุขภาพจิต, จิตวิทยา, ระบบการดูแล

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี

Code: 100057

ISSN/ISBN: 974-92137-9-3

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการ

Download: -

 

Preset Colors