02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: สรยุทธ วาสิกนานนท์ พ.บ.

ชื่อเรื่อง/Title: การใช้ยากันชักในการรักษาผู้ป่วย bipolar disorder.

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 46 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2544 หน้า 223-246.

รายละเอียด / Details:

บทคัดย่อ โรค bipolar disorder เป็นโรคความผิดปกติทางอารมณ์ที่พบได้บ่อยทางจิตเวช ลิเทียมจัดว่าเป็นยาหลักและเป็นยาชนิดแรกของกลุ่มยาปรับสภาพอารมณ์ (mood stabilizers) ในการรักษาอาการช่วงภาวะแมเนีย (manic episode) อย่างไรก็ตามพบว่ามีผู้ป่วยโรค bipolar disorder จำนวนมากที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยลิเทียมชนิดเดียว ยากันชักรุ่นเดิมทั้ง valproate และ carbamazepine ต่างเป็นที่ยอมรับว่าสามารถใช้รักษาช่วงภาวะแมเนียและใช้ป้องกันการเป็นซ้ำได้ กลไกการออกฤทธิ์การปรับสภาพอารมณ์ของยากันชักอาจเกิดจากการเพิ่มการยับยั้งของระบบ GABAergic ในสมอง และ/หรือ อาจเกิดจากการยับยั้ง voltage-sensitive sodium channels ซึ่งยากันชักรุ่นใหม่ เช่น lamotrigine, gabapentin, topiramate และ tiagabine ต่างก็มีกลไกการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทดังที่กล่าวมาด้วยเช่นกัน จากการศึกษาผลการรักษาโรค bipolar disorder ด้วย lamotrigine พบหลักฐานการศึกษาพอที่จะสนับสนุนการใช้รักษาโรคนี้สำหรับการรักษาระยะเฉียบพลัน (acute treatment) โดยมีข้อจำกัดที่ความจำเป็นต้องค่อยๆ ปรับขนาดยาเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง. gabapentin เป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง จากการศึกษาแบบ open trial พบว่าอาจเป็นยาที่เหมาะสำหรับใช้เป็นยาเสริมการรักษาในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการรักษาให้ดีขึ้น. สำหรับ topiramate เริ่มมีรายงานขั้นต้นในลักษณะยาเสริมการรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการรักษาผู้ป่วยในช่วงภาวะแมเนีย ที่ไม่ตอบสนองต่อยาอื่น. ส่วน tiagabine เป็นยาที่มีศักยภาพในการรักษาที่ควรจะได้รับการศึกษาเพิ่มเติม

Keywords: แมเนีย, ยากันชัก, ลิเทียม, การรักษา, mania, lithium, anticonvulsant

ปีที่เผยแพร่/Year: 2544

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

Code: 000006

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 2.85MB

 

Preset Colors