02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: วรรณทนา ศุภสีมานนท์

ชื่อเรื่อง/Title: ความเครียดและวิธีการเผชิญความเครียดของครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยเอดส์

แหล่งที่มา/Source: วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2540, 9-18

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาถึงความเครียดและวิธีการเผชิญความเครียดของครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยเอดส์ กลุ่มตัวอย่างคือครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยเอดส์ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จำนวน 54 ครอบครัว เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างธันวาคม 2538 ถึงเดือนมีนาคม 2539 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความเครียดซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยยึดตามแนวคิดของ Lazarus และ Folkman (1984) และแบบประเมินวิธีการเผชิญความเครียดที่ดัดแปลงจาก เครื่องมือประเมินวิธีการเผชิญความเครียดของ Jalowiec (1979) ตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงโดยนำไปทดลองให้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 ราย ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเป็น 0.83 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยเอดส์ ประเมินเหตุการณ์โดยรวมว่าก่อให้เกิดความเครียดระดับปานกลาง 2. เหตุการณ์ที่ครอบครัวประเมินว่าทำให้เกิดความเครียด 5 อันดับแรก คือ การที่ครอบครัวต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วย, การได้เห็นผู้ป่วยทุกข์ใจวิตกกังวล , การกลัวผู้อื่นรังเกียจถ้าทราบว่าผู้ป่วยเป็นเอดส์, การได้เป็นผู้ป่วยมีอาการของโรค, และการที่ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อยๆ เป็นระยะๆ (ค่าเฉลี่ย=3.22,3.09,3.04,2.98,2.91) เป็นต้น 3. วิธีการเผชิญความเครียดเน้นการแก้ปัญหาที่ครอบครัวใช้บ่อย 5 อันดับแรก คือ เชื่อมั่นไว้วางใจในความสามารถในการรักษาของแพทย์, ปรึกษาหารือกันในครอบครัวเกี่ยวกับอาการ การดูแลรักษาผู้ป่วย, พยายามติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับโรค, ขอความช่วยเหลือจากญาติหรือเพื่อนเกี่ยวกับสิ่งของค่าใช้จ่ายการช่วยเหลือดูแลสมาชิกในครอบครัว, และของความช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายหรือสิ่งของจากรัฐบาลหรือจากองค์กรเอกชน (ค่าเฉลี่ย = 3.81,3.52,3.36,3.28,2.37) ตามลำดับ 4. วิธีการเผชิญความเครียดเน้นด้านอารมณ์ที่ครอบครัวใช้บ่อย 5 อันดับแรก คือ สวดมนต์ไหว้พระ, คิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากเคราะห์กรรมโชคชะตา, บอกกับตนเองว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นความจริง, มีความหวังว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะดีขึ้น, และพยายามลืมเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความไม่สบายใจ (ค่าเฉลี่ย = 3.09,3.07,2.72.,2.63,2.54) ตามลำดับ 5. ค่าเฉลี่ยของคะแนนวิธีการเผชิญความเครียดเน้นการแก้ปัญหา (ค่าเฉลี่ย = 2.69, SD = 0.84) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนวิธีการเผชิญความเครียดเน้นด้านอารมณ์ (ค่าเฉลี่ย = 1.89, SD =0.64) พยาบาลควรประเมินความเครียดและวิธีการเผชิญความเครียดของครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยเอดส์เพื่อนำมาวางแผนการพยาบาลและปฏิบัติการพยาบาลตลอดจนมีการจัดกลุ่มช่วยเหลือตนเอง สำหรับครอบครัวเหล่านี้

Keywords: AIDS, family, HIV, psychology, mental health, stress, ครอบครัว, การเผชิญความเครียด, ความเครียด, เครียด, จิตวิทยา, สุขภาพจิต, โรคเอดส์, เอดส์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2540

Address: ภาควิชาการพยาบาลแม่และเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Code: 127400502003

ISSN/ISBN: 0858-4338

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: -

 

Preset Colors