02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: ดวงใจ กสานตกุล, เดชา ลิลิตอนันต์พงศ์

ชื่อเรื่อง/Title: แนวโน้มการวินิจฉัยโรคจิตเภทและโรคทางอารมณ์ในผู้ป่วยไทย ช่วง 10 ปี

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 44 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2543 , หน้า 90-98

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวโน้มการวินิจฉัยโรคจิตเภทและโรคทางอารมณ์ (major affective disorders, MAD) ในช่วง 10 ปี โดยเปรียบเทียบสถิติของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไปที่มีหอผู้ป่วยจิตเวช ขนาด 14 เตียง กับโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา และจำนวนผู้ป่วยทางจิตเวชทั้งประเทศ วิธีการศึกษา ได้รวบรวมสถิติผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์แปรปรวน ในปี 2530 2536 และ 2540 โดยเปรียบเทียบระหว่างโรงพยาบาลทั้ง3 แห่ง และจำนวนผู้ป่วยนอกทั้งประเทศ จากรายงานของศูนย์สารสนเทศ กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต ผลการศึกษา พบว่าในช่วง พ.ศ.2530-2540 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีผู้ป่วยจิตเภทในอัตราสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่ผู้ป่วยโรคทางอารมณ์มีอัตราสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า แนวโน้ม แบบเดียวกันนี้ก็พบในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาและโรงพยาบาลศรีธัญญา สรุป แนวโน้มการวินิจฉัยโรคจิตเภทและโรคทางอารมณ์ ในประเทศไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับต่างประเทศ กล่าวคือ อัตราการวินิจฉัยโรคทางอารมณ์มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่โรคจิตเภทเองมีแนวโน้มการวินิจฉัยคงที่ หรือค่อนไปทางลดลง การวินิจฉัยแยกโรคทั้งสองนี้มีความสำคัญมากเพราะมีการรักษาและพยากรณ์โรคที่แตกต่างกัน

Keywords: ระบาดวิทยา, การวินิจฉัย, โรคจิตเภท, โรคทางอารมณ์, โรคซึมเศร้า, ระบาดวิทยา, โรคอารมณ์แปรปรวน, โรคทางจิตเวช, โรคจิตเภท, schizophrenia, major affective disorder, psychiatry, epidemic

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 100424402319

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 1.53MB

 

Preset Colors