02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: อุบล วรรณกิจ, จารุวรรณ ประดา

ชื่อเรื่อง/Title: การรับรู้สมรรถนะในการดูแลของผู้ดูแลต่อพฤติกรรมการดูแลบุคคลปัญญาอ่อนที่รับไว้ประเภทผู้ป่วยใน สถาบันราชานุกูล.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่อง สุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 95.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ ครอบครัวและผู้ดูแลมีส่วนสำคัญยิ่งในการพัฒนาความสามารถของบุคคลปัญญาอ่อน การรับรู้สมรรถนะของตนเองของผู้ดูแลเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดูแล กลุ่มการพยาบาล ได้จัดบริการให้ครอบครัวผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแล และการจัดสัมมนา รวมทั้งโปรแกรมการอบรมต่างๆ เพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครอบครัว แต่ยังไม่ได้ติดตามผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการดูแลที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมสมรรถนะดังกล่าว การวิจัยนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบส่งเสริมสมรรถนะและพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแล ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ดูแลเกิดพฤติกรรมการดูแลที่ดีอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องพึ่งพาสถาบันลดปัญหาการติดสถาบัน และเปิดโอกาสให้บุคคลปัญญาอ่อนได้เข้าสู่สังคมเพิ่มมากขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้สมรรถนะการดูแลและพฤติกรรมการดูแลบุคคลปัญญาอ่อนของผู้ดูแล และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะการดูแลบุคคลปัญญาอ่อนกับพฤติกรรมการดูแลบุคคลปัญญาอ่อนของผู้ดูแล วิธีการศึกษา การวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลบุคคลปัญญาอ่อนที่รับไว้ประเภทผู้ป่วยในกลุ่มการพยาบาล สถาบันราชานุกูล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะในการดูแลเด็กปัญญาอ่อนและแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเด็ปัญญาอ่อนของผู้ดูแล เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 16 มีนาคม - 15 เมษายน 2549 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของพียร์สัน 1. ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้สมรรถนะการดูแลบุคคลปัญญาอ่อนของผู้ดูแลทั้งรายด้านและโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X=3.88) พฤติกรรมการดูแลบุคคลปัญญาอ่อนของผู้ดูแลโดยรวมอยู๋ในระดับดี (X=3.40) การรับรู้สมรรถนะในการดูแลบุคคลปัญญาอ่อน มิติความยากง่าย, ความเข้มแข็ง และความเป็นสากล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.57, .56, .56 ตามลำดับ) สรุปผลการศึกษา การรับรู้สมรรถนะการดูแลบุคคลปัญญาอ่อน และพฤติกรรมการดูแลบุคคลปัญญาอ่อนของผู้ดูแลที่รับไว้ประเภทผู้ป่วยใน สถาบันราชานุกูล อยู่ในระดับดี และการรับรู้สมรรถนะในการดูแลบุคคลปัญญาอ่อนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะการดูแลบุคคลปัญญาอ่อนให้แก่ผู้ดูแล เช่น การจัดโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ จะส่งผลให้พฤติกรรมการดูแลบุคคลอัญญาอ่อนดียิ่งขึ้น ดังนั้นควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะการดูแลแก่ผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง

Keywords: เด็กปัญญาอ่อน, ปัญญาอ่อน, พฤติกรรมการดูแล, การพัฒนาความสามารถ, สถาบันราชานุกูล

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: สถาบันราชานุกูล

Code: 200700099

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download:

 

Preset Colors