02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: บุญชัย นวมงคลวัฒนา

ชื่อเรื่อง/Title: ต้นทุนต่อหน่วยของงานบริการสุขภาพจิต โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 7 ปี 2544 "ความสุขที่พอเพียง" วันที่ 5-7 กันยายน 2544. หน้า 110

รายละเอียด / Details:

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของงานบริการสุขภาพจิต โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โดยศึกษาต้นทุนต่อหน่วยบริการ (Unit Cost) ของแต่ละหน่วยบริการผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก (Cost Per Visi) แผนกผู้ป่วยใน ที่ศึกษาต้นทุนต่อราย (Cost Per Visit) และต้นทุนต่อวัน ผู้ป่วยใน (Cost Per Hospital day) เก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective Study) ปีงบประมาณ 2543 (ตุลาคม 2542-กันยายน 2543)โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน และการจัดสรรแรงงาน จากข้อมูลแบบรายการ ค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน และบุคลากรของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โดยแบ่งหน่วยต้นทุนของโรงพยาบาลออกเป็น 3 หน่วยต้นทุน คือ หน่วยต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Revenue Producing Cost Center =NRPCC) ไปยังหน่วยต้นทุนที่ให้บริการผู้ป่วย (Patient Services= PS) โดยวิธี Simultaneous equation ตามเกณฑ์การจัดสรรต้นทุนที่เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงาน ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนต่อหน่วยของงานบริการผู้ป่วยนอก งานทันตกรรมงาน Hotline งานไปรษณีย์และงานคลายเครียด มีต้นทุนต่อหน่วยบริการเท่ากับ 284.75,511.65,232.30, และ 1,737.66บาท ต่อราย ตามลำดับ ส่วนงานสังคมสงเคราะห์ งานจิตวิทยา มีต้นทุนต่อหน่วยบริการเท่ากับ 306.31 และ 463.60บาทต่อครั้งกิจกรรม สำหรับต้นทุนงานบริการผู้ป่วยใน พบว่ามีต้นทุนต่อหน่วยบริการเท่ากับ 28,284.03 บาทต่อราย และ 563.39 บาทต่อวันป่วย ส่วนต้นทุน พบว่า ต้นทุนรวมของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ประกอบด้วยค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุน ในสัดส่วน 8 : 4.3 :1 ต้นทุนทางตรง (Direct Cost) -ของหน่วยต้นทุน PS และ NRPCC มีมูลค่าของต้นทุนค่าแรงสูงที่สุด ร้อยละ 81.35 และ 49.86 ตามลำดับ ในขณะที่หน่วยต้นทุน RPCC จะมีมูลค่าของต้นทุนค่าวัสดุสูงที่สุด ร้อยละ 81.91 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ มีรายได้สุทธิ (Net revenue) ส่วนใหญ่มาจากงานบริการผู้ป่วยในถึงร้อยละ 57.70 และมีอัตราการคืนทุนสุทธิ (Net Cost recovery) ของต้นทุนทั้งหมด (FC) และต้นทุนดำเนินการ (OC) ในส่วนงานผู้ป่วยนอกเท่ากับร้อยละ 32.95 และ 36.35 ตามลำดับส่วนงานผู้ป่วยในเท่ากับร้อยละ 19.43 และ 20.87 ตามลำดับ อัตราการคืนทุนจากการรับพึงได้ (Accrual Cost recovery) ของ FC และ OC ในส่วนงานผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในเท่ากับร้อยละ 38.84,42.83,31.99 และ 34.36 ตามลำดับ ผลการวิจัยนี้ ทำให้ได้รูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธ์ ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณานโยบายค่าบริการของโรงพยาบาลได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้มารับบริการ สามารถนำผลสรุปไปพิจารณาจัดทำงบประมาณประจำปี การจัดสรรทรัพยากร การควบคุม กำกับและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

Keywords: ต้นทุนต่อหน่วย, unit cost, โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: กรมสุขภาพจิต,กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000035

ISSN/ISBN: 974-296-076-3

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -

 

Preset Colors