02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: พิชญ์มณฑน์ สีกำเนิดไทย

ชื่อเรื่อง/Title: การติดตามการดำเนินงานจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ปีงบประมาณ 2545

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2 สุขภาพจิตกับยาเสพติด ปี 2546. หน้า 174. (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร)

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจผลการดำเนินงานจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา ปีงบประมาณ 2545 สรุปผลการรวบรวมข้อมูล โรงเรียนที่ตอบแบบสอบถามมีทั้งสิ้น 541 โรงเรียน สรุปข้อมูลได้ดังนี้ โรงเรียนที่ตอบแบบสอบถามเป็นโรงเรียนขนาดกลาง มีจำนวนมากที่สุด คือ 160 โรงเรียน รองลงมาคือขนาดเล็ก จำนวน 139 โรงเรียน โรงเรียนมีการจัดนักเรียนในความดูแล จำนวน 21-25 คน ต่อครูที่ปรึกษา 1 คน มีจำนวนมากที่สุดคือ มีโรงเรียน 227 โรงเรียน รองลงมาคือ จำนวน 16-20 คน ต่อครูที่ปรึกษา 1 คน มีโรงเรียน 122 โรงเรียน โรงเรียนจัดครูที่ปรึกษาดูแลนักเรียนเพียงระดับใดระดับหนึ่ง มีจำนวนมากที่สุด คือ 393 โรงเรียน รองลงมาคือ จัดนักเรียนแบบคละมีจำนวนทุกระดับ จำนวน 122 โรงเรียน การดำนินการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนยังไม่ดำเนินการ เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพหรือศึกษาวิจัย คุณภาพของกิจกรรมโฮมรูมที่มีผลต่อคุณภาพนักเรียนมีมากที่สุดคือ มีจำนวน 170 โรงเรียน รองลงมาคือการจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มีจำนวน 80 โรงเรียน ส่วนเรื่องที่ทางโรงเรียนกำลังจะดำเนินการมากที่สุดคือ เรื่องบันทึกการปรับปรุงพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ ตามผลที่ได้ จากการประเมินคุณภาพ ภายในมีจำนวน 269 โรงเรียน รองลงมาคือ ประเมินคุณภาพ หรือศึกษาวิจัยคุณภาพของกิจกรรม โฮมรูมที่มีผลต่อคุณภาพนักเรียน มีจำนวน 257 โรงเรียน สำหรับเรื่องที่โรงเรียนดำเนินการแล้วมากที่สุดคือ จัดทำแผนปฏิบัติงานการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน มีจำนวน 480 โรงเรียน รองลงมาคือจัดกิจกรรมโฮมรูม โดยใช้เวลาประมาณ 50-60 นาที ต่อสัปดาห์ มีจำนวน 465 โรงเรียนซึ่งใกล้เคียงกับการจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง มีจำนวน 464 โรงเรียน ปัญหาที่เป็นอันดับแรกของโรงเรียน ซึ่งเป็นปัญหาที่มีมากที่สุดคือ ปัญหาการเรียนมี 148 โรงเรียน ปัญหาที่เป็นอันดับสองของโรงเรียนซึ่งมีปัญหามากที่สุดคือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจของครอบครัวมี 134 โรงเรียน และปัญหาที่เป็นอันดับสามของโรงเรียนซึ่งมีปัญหามากที่สุดคือ ปัญหาพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง/สมาธิสั้น มี 80 โรงเรียน สำหรับปัญหาอื่นๆ ที่พบในโรงเรียน ซึ่งเป็นปัญหาในอันดับต้นๆ ที่น่าสนใจ คือ ปัญหาด้านพฤติกรรมเกเร/ก้าวร้าว ปัญหาด้านอารมณ์/จิตใจ และปัญหาด้านการคุ้มครองนักเรียนของครอบครัว ผลที่เกิดขึ้น จากการที่โรงเรียนได้จัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำให้โรงเรียนได้รับผลดี ครูมีความภาคภูมิใจในผลงานที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะผลที่เกิดกับนักเรียนทำให้นักเรียนมีคุณภาพ ครูได้ทำงานเป็นระบบ แม้ว่าการดำเนินงานจะพบปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เป็นการสนับสนุนการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีผลดีต่อนักเรียนทั้งการส่งเสริมศักยภาพ ความสามารถของนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา จึงอาจนับได้ว่าโรงเรียนที่ได้ดำเนินการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ย่อมได้รับผลดีทั้งต่อโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ในส่วนที่แตกต่างกันไป โดยมีโรงเรียนเป็นผู้นำในการคิดค้นโครงการ/กิจกรรมใหม่ๆ หรือปรับปเปลี่ยนพฤติกรรมในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เหมาะสม เพื่อการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ก้าวหน้าและยั่งยืนต่อไป

Keywords: นักเรียน, ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน, กรมสามัญศึกษา, พฤติกรรมก้าวร้าว, เกเร, ปัญหาสุขภาพจิต, สุขภาพจิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: ศึกษานิเทศน์ กรมสามัญศึกษา

Code: 00000090

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -

 

Preset Colors