02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: ศิริลักษณ์ สว่างวงศ์สิน, สุพัฒนา สุขสว่าง, ทิวาพร ฟูเฟื่อง

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาต้านโรคจิต โรงพยาบาลศรีธัญญา The impact of using antipsychotic on psychotric patient's way of life

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย พ.ศ 2544 พ.ศ 2544

รายละเอียด / Details:

ปัญหาสุขภาพจิต มีการเปลี่ยนแปลงที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ องค์การอนามัยโลกได้เล็งเห็น และตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช จึงได้กำหนดให้ปี 2544 เป็นปีแห่งสุขภาพจิต เพื่อให้สังคมหันมาสนใจปัญหาทางด้านสุขภาพจิต โดยเฉพาะผู้ป่วยด้วยโรคทางจิต ให้ได้รับการดูแลและช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาต้านโรคจิต และความต้องการของผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลศรีธัญญา เนื่องในปีสุขภาพจิตโลก กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยที่ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีธัญญา จำนวน 200 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เมษายน-มิถุนายน 2544 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความยุ่งยากมากขึ้นในชีวิต จากการป่วยทางจิตมากที่สุด ในด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 59.5 รองลงมาด้านครอบครัวและการทำงาน ร้อยละ 40.0 และร้อยละ 32.5 ตามลำดับ ผลการรักษาที่สำคัญที่สุดของผู้ป่วย ได้แก่ การควบคุมอารมณ์ได้ ร้อยละ 50.5 รองลงมา ได้แก่ การมีชีวิตตามปกติ ร้อยละ 49.5 และกลุ่มตัวอย่างมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาต้านโรคจิต มากที่สุดได้แก่ อาการ ง่วง เซื่องซึม และอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ร้อยละ 41.0 ทำให้ขาดความมั่นใจที่จะอยู่คนเดียว ร้อยละ 27.5 ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างเคยหยุดยา หรือลดขนาดยาที่รับประทาน โดยไม่ได้รับความเห็นจากแพทย์ และเคยมาอาการกำเริบเพราะไม่ได้รับประทานยาหรือลดยา โดยไม่ได้รับความเห็นจากแพทย์ ร้อยละ 45.5 ร้อยละ 52.0 ไม่ทราบว่าชนิดของยาที่รับประทาน การได้รับข้อมูลส่วนใหญ่จากแพทย์ ร้อยละ 66.30 รองลงมา ได้แก่ พยาบาล ร้อยละ 44.0 ความต้องการ/ปรารถนา ของผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มตัวอย่างเนื่องในปีสุขภาพจิตโลกมากที่สุด ได้แก่ การไม่ป่วยกลับซ้ำอีก ร้อยละ 67.0 รองลงมา ได้แก่ การสามารถซักถามแพทย์ได้อย่างละเอียดระหว่างการรักษา การมีงาน/รายได้ที่มั่นคง การมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และการยอมรับสนับสนุนจากสังคม ร้อยละ 52.0 51.5 39.0 และ 36.0 ตามลำดับ สิ่งที่ต้องการให้ปรับปรุงเกี่ยวกับยาต้านโรคจิต ได้แก่ อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น ราคายาที่แพง สำหรับการบริการ คือ บริการที่ช้า รอนาน จากการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ควรมีการพัฒนา/ปรับปรุงระบบบริการในด้านการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลต่อเนื่องของการรักษาด้วยยาด้านโรคจิต วิธีการปฏิบัติในการดูแลตนเอง รวมทั้งการจัดบริการอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยจิตเวช

Keywords: ยาต้านโรคจิต, ยารักษาโรคจิต, ยา, การดำเนินชีวิต, ผู้ป่วยโรคจิต, drugs, antipsychotic, major tranquilizer, life style

ปีที่เผยแพร่/Year: 2544

Address: ศูนย์สุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน โรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 00034

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -

 

Preset Colors