02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ, โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

ชื่อเรื่อง/Title: ประเมินผลโครงการพัฒนาการให้บริการผู้มีปัญหาทางจิตเวช โดยเครือข่ายระบบการส่งต่องานสุขภาพจิต จังหวัดศรีสะเกษ

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 5 , พ.ศ. 2542

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้มีปัญหาทางจิตเวช ได้รับการดูแลรักษาครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคม อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการส่งต่อในระบบเครือข่ายการส่งต่อจังหวัดศรีสะเกษอย่างเป็นระบบ และสามารถอยู่ในครอบครัวและชุมชนได้นานเกิน 3 เดือน ผลที่ได้ ผลการปฏิบัติงาน 1. เกิดเครือข่ายระบบการส่งต่องานสุขภาพจิตในจังหวัดศรีสะเกษ 2. มีศูนย์รวบรวมข้อมูลและประสานงานเครือข่ายการส่งต่อ 2 ศูนย์ คือ ที่งานส่งเสริมสุขภาพจิต และควบคุมโรคไม่ติดต่อ สสจ.ศรีสะเกษ และที่หอผู้ป่วยจิตเวชชาย 4 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โดยศูนย์ฯ มีหน้าที่ดังนี้ 1. ประสานงานกับเครือข่าย ฯ 2. เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำช่วยเหลือเครือข่าย 3. ติดตาม นิเทศเมื่อมีปัญหา 4. เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล 3 ผู้มีปัญหาทางจิตเวช ได้รับการดูแลจากเครือข่ายดังนี้ 3.1. จำนวนผู้มีปัญหาทางจิตเวช ที่ Refer จากโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ไปรับยาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลชุมชน จากเดือนมกราคม 2542-31 กรกฎาคม 2542 จำนวน 88 ราย 3.2. มีการติดตามเยี่ยมบ้าน ในเดือนมีนาคม 2542 จำนวน 8 ราย เดือนเมษายน 2542 จำนวน 25 ราย และเดือนพฤษภาคม 2542 จำนวน 17 ราย รวมทั้งสิ้น 50 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.8 3.3. ผลการดูแลผู้มีปัญหาทางจิตเวชขณะอยู่ที่บ้าน - ด้านอาการทางจิต พบว่า : ไม่มีอาการผิดปกติ จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.6 - ด้านการกินยา พบว่า : มีบ้าง จำนวน 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 66 - ด้านการทำกิจวัตรประจำวัน พบว่า : ทำได้เอง จำนวน 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 78.7 : ทำได้บ้าง จำนวน 110 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.3 : ไม่มีผู้ใดทำไม่ได้ ซึ่งญาติต้องช่วยเหลือตลอด - ด้านการประกอบอาชีพ พบว่า : ประกอบอาชีพได้ จำนวน 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.4 : ประกอบอาชีพได้บ้าง จำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.8 - ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยแล้วไม่พบผู้ป่วย จำนวน 3 ราย 4. การกลับมารับการรักษาซ้ำ พบว่า ผู้ป่วยกลับมารับการรักษาซ้ำตั้งแต่เริ่มโครงการถึง 20 สิงหาคม 2542 Re – admitted ก่อน 3 เดือน จำนวน 2 ราย 5. อัตราจำนวนผู้ป่วยจำหน่ายออกสู่ชุมชนและอยู่ในชุมชนได้เกิน 3 เดือน : อัตราการย้อนกลับรับการรักษาภายใน 3 เดือน = 88:2 ข้อเสนอแนะ เชิงนโยบาย เพื่อให้การดำเนินงานของเครือข่ายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและยั่งยืน ควรมีการให้ขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิต และจิตเวชในสังกัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยให้สามารถนำเอาผลการปฏิบัติงานไปนำเสนอเพื่อพิจารณาในการเลื่อนระดับ / ตำแหน่ง หรือมีการกำหนดตำแหน่งเฉพาะด้านสุขภาพจิตและจิตเวชไว้ด้วย เชิงปฏิบัติ 1. ก่อนจำหน่ายผู้ป่วยกลับไปอยู่ในชุมชน โปรแกรมการบำบัดรักษาด้วยยาควรปรับให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตในชุมชน เนื่องจากเมื่อกลับไปอยู่ในชุมชนแล้ว ต้องประกอบอาชีพ ยาอาจทำให้ง่วงซึม ไม่สามารถทำงานได้และผู้ป่วยรับประทานยามาก ๆ จะรู้สึกเบื่อ ทำให้หยุดยาเอง ขาดยา หรือรับยาไม่สม่ำเสมอ โดยอาจลดยารับประทานเหลือวันละ 1-2 ครั้ง และให้ยาฉีด Long Acting แทน หรือใช้เฉพาะยาฉีด Long Acting และให้ยากินเฉพาะก่อนนอน 2. การดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหาทางจิตเวชโดยเครือข่าย จะดียิ่งขึ้นและครอบคลุม ถ้าหากมีการนำเอาชุมชน / ญาติ และผู้นำชุมชนมาร่วมกันดูแลด้วย โดยประยุกต์เอาเทคโนโลยี AIC มาใช้ร่วมด้วย

Keywords: งานสุขภาพจิต, เครือข่าย, ระบบการส่งต่อ, ผู้มีปัญหาทางจิตเวช, ผู้ป่วยจิตเวช, psychiatry, network, refer, community

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต

Code: 201420005219

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -

 

Preset Colors