02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: กุนตี โตโพธิ์ไทย, เทียนทอง หาระบุตร

ชื่อเรื่อง/Title: “สนามความรู้จากชุมชน ขยายผลสู่นโยบายสุขภาพจิตภาครัฐ”.

แหล่งที่มา/Source: ร่วมมือ ร่วมพลัง : มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดี ในปี 2563 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. หน้า 81.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ กระบวนการเรียนรู้และจัดการกับปัญหาของชุมชน ด้วยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนบนฐานศักยภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดทำแผนชุมชนภายใต้กรอบแนวคิดศึกษา/วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพจิตผสมผสานองค์ความรู้จากนโยบายภาครัฐ บริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นตามบริบทของสังคม จากแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ส่งผลให้ชุมชนเกิดการรับรู้/มีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหา มีการสร้างสัมพันธ์และเรียนรู้ร่วมกันแบบบูรณาการจากทุกภาคส่วน ทำให้ปัญหามีการขับเคลื่อนแบบองค์รวมในทุกมิติ เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดบริการสุขภาพที่เอื้อประโยชน์ให้ทุกฝ่าย สามารถเชื่อมโยงประเด็นปัญหาจริงในพื้นที่ให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ เป็นหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาและพัฒนาไปสู่ชุมชนและยั่งยืนอย่างแท้จริง. วัตถุประสงค์ 1.ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในรับรู้ปัญหาและวางแผนดำเนินงานสุขภาพจิตของชุมชนร่วมกัน 2.ปัญหาสุขภาพของประชาชนพื้นที่ ได้รับการแก้ไขและป้องกัน ภายใต้บริบทของชุมชน 3.มีทิศทางการดำเนินงานที่ สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ วิธีการศึกษา จัดทำแผนชุมชนงานสุขภาพจิต 10 ตำบลนำร่อง อ.สามพราน จ.นครปฐม แบบบูรณาการจากแกนนำชุมชน/อสม./อบต. และจนท. สาธารณสุขตำบลละ 5 คนโดยใช้กระบวนการประชุมที่ระดมพลังสมองเพื่อแก้ไขปัญหาและหาแนวทางในการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ของผู้เข้าประชุม A-I-C (Appreciation Influence Control) 1 วัน ดำเนินกิจกรรมตามแผนของตำบลเป็นเวลา 3 เดือน ประเมินผลสรุปกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนางานต่อเนื่อง 1 วัน ใช้งบประมาณแบบบูรณาการจากศูนย์สุขภาพจิตที่ 4 สถาบันกัลยาณ์ฯ สปสช.องค์การบริหารงานส่วนท้องถิ่นและชุมชน (ธันวาคม 2550-พฤษภาคม 2551) ผลการศึกษา ชุมชนมีการรับรู้/วางแผน/วิเคราะห์/ดำเนินกิจกรรมและประเมินผลงาน ตามสภาพปัญหาสุขภาพจิตของพื้นที่ร่วมกับบุคลากรสาธารณสุข เช่น การดูแลผู้ป่วยจิตเวช การค้นหาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเรื้อรัง ปัญหาการทำร้ายตนเอง การขยายเครือข่าย อสม.เพื่อช่วยเหลือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ก่อให้เกิดการเรียนรู้/สร้างสัมพันธ์และขยายเครือข่ายดำเนินงานอย่างมีทิศทาง ในทุกภาคส่วนเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง สรุปผลการศึกษา ชุมชนมีกิจกรรมการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตในพื้นที่ เป็นรูปธรรมสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐในเรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชแบบองค์รวมตามมาตรฐาน PCU ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตามยุทธศาสตร์อยู่ดี มีสุขของจังหวัด รวมถึงลดปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จในระดับประเทศ ข้อเสนอแนะ 1.พิจารณาแกนนำชุมชนที่ผ่านการอบรมการทำแผนชุมชน มีศักยภาพ/ความพร้อมและมุ่งมั่นในการดำเนินกิจกรรม 2.มีการบริหารจัดการแบบบูรณาการจากทุกภาคส่วนภายใต้บริบทของชุมชน 3.มีการสรุปประเด็นและเชื่อมโยงแนวคิด/นโยบาย เสริมแรงจูงใจให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญใน การพัฒนางานภายใต้ภาระงานปกติ.

Keywords: สนามความรู้จากชุมชน, นโยบายสุขภาพจิตภาครัฐ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม ศูนย์สุขภาพจิตที่ 4

Code: 2010000112

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors