02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: มรรยาท เจริญสุขโสภณ, นงลักษณ์ เชษฐภักดีจิต

ชื่อเรื่อง/Title: ศึกษากระบวนการสร้างสัมพันธภาพ ระดับความหวัง ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และระดับการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูญเสียอวัยวะ โรงพยาบาลชลบุรี

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย พ.ศ. 2537

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการสร้างสัมพันธภาพต่อระดับความหวัง ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และระดับการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูญเสียอวัยวะ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความหวัง ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และระดับการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูญเสียอวัยวะและศึกษาตัวทำนายระดับการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูญเสียอวัยวะ โดยมีระดับความหวัง ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า ประเภทของการสูญเสียอวัยวะ การรับรู้ต่อการสูญเสียและระดับการศึกษา เป็นตัวร่วมทำนาย วิธีดำเนินการวิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูญเสียอวัยวะภายนอก แบ่งตามประเภทของการสูญเสียอวัยวะเป็นระบบ ได้แก่ ระบบกระดูก ระบบอวัยวะสืบพันธ์ และระบบการมองเห็นซึ่งหมายถึงการสูญเสียดวงตา จำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งได้ผ่านกระบวนการสร้างสัมพันธภาพ จำนวน 50 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการสร้างสัมพันธภาพ จำนวน 50 คน และกลุ่มประกอบด้วยเพศชายและหญิงที่มีระดับอายุต่างกัน คืออยู่ระหว่าง 20-60 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่กลุ่มอายุ 20-40 ปี และกลุ่มอายุ 41-60 ปี ผู้ป่วยมีระยะเวลาของการสูญเสียอวัยวะไม่เกิน 6 สัปดาห์ และทุกคนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนานถึง 6 สัปดาห์ มีประสบการณ์ต่อการสูญเสียครั้งนี้เป็นครั้งแรก สถานภาพของตนเองต่อครอบครัวได้แบ่งเป็นกลุ่มหาเลี้ยงครอบครัวและไม่ได้หาเลี้ยงครอบครัวเครื่องมือประกอบด้วยแบบสอบถามที่ใช้การสัมภาษณ์ วัดระดับความหวัง ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และระดับการดูแลตนเองสำหรับกระบวนการสร้างสัมพันธภาพใช้วิธีการสังเกต และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยใช้เวลาในการสร้างสัมพันธภาพนาน 6 สัปดาห์ รวมระยะเวลาเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 7 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติในการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณของกลุ่มตัวทำนาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการสร้างสัมพันธภาพมีผลต่อความหวัง ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูญเสียอวัยวะ ภายหลังจากการสิ้นสุดการได้รับกระบวนการสร้างสัมพันธภาพ โดยมีผลทำให้ผู้ป่วยมีความหวังและการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น และทำให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลและความซึมเศร้าลดลง 2. ความหวังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูญเสียอวัยวะ ส่วนความวิตกกังวลและความซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับการดูแลตนเอง นอกจากนั้นพบว่า ความหวังมีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวล และความซึมเศร้า แต่ความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความซึมเศร้า 3. ก่อนกระบวนการสร้างสัมพันธภาพ ความซึมเศร้าสามารถทำนายระดับการดูแลตนเองของผู้ป่วยสูญเสียอวัยวะ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ คือ พยาบาลควรฝึกฝนทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยสูญเสียอวัยวะ เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล ความซึมเศร้า ช่วยให้ผู้ป่วยมีความหวังในการดำรงชีวิตอยู่ต่อไปโดยสามารถดูแลตนเองได้มากขึ้น และผู้ผลิตพยาบาลควรได้ฝึกฝนนักศึกษาให้มีความสามารถในด้านนี้เช่นเดียวกัน ในการวิจัยครั้งต่อไปน่าจะมีการศึกษาวิจัยเช่นนี้ในผู้ป่วยกลุ่มอื่น เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเอดส์ และผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะสุดท้าย

Keywords: anxiety, depress, depression, depressive, psychiatry, stress, เครียด, เศร้า, โรคซึมเศร้า, คนพิการ, ความเครียด, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ซึม, ซึมเศร้า, ผู้พิการ, ภาวะซึมเศร้า, อาการซึมเศร้า

ปีที่เผยแพร่/Year: 2537

Address: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 372370000003

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -

 

Preset Colors