02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: ปรีดิ์หทัย แก้วมณีรัตน์

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาบทบาทของสมาชิกในครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช, ศึกษาเฉพาะกรณีโรงพยาบาลสวนสราญรมย์

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัยเรื่อง การศึกษาบทบาทของสมาชิกในครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช, ศึกษาเฉพาะกรณีโรงพยาบาลสวนสราญรมย์, พ.ศ.2534

รายละเอียด / Details:

การศึกษาบทบาทของสมาชิกในครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ศึกษาเฉพาะกรณีโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของสมาชิกในครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช สัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช สัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัว และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางจิตเวช เพื่อประโยชน์ในการวางแนวทางในการปฏิบัติงานกับครอบครัว และผู้ป่วยจิตเวชได้อย่างเหมาะสมในเรื่องการดูแลผู้ป่วยเมื่ออยู่ในครอบครัว ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งมีหน้าที่ดูแลและใกล้ชิดผู้ป่วย และพาผู้ป่วยจิตเวชเก่ามารับการบำบัดรักษาโรคที่โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ การเก็บข้อมูลใช้เวลา 1 เดือน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 150 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการหาค่าร้อยละ (PERCENTAGE) ค่าเฉลี่ย (MEAN), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( STANDARD DIVIATION), ค่าสถิติไคสแควร์ (CHI SQUARE) , ค่าความแปรปรวน (ANALYSIS OF VARIANCE), และค่า MEAN COMPARISION และวัดค่าความเชื่อมั่น (RELIABILITY) ของแบบสอบถาม ด้วยวิธี COEFFICIENT OF ALPHA ซึ่งอยู่ในระดับ 0.8192 ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดและมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวช มีจำนวนทั้งหมด 150 คน เป็นเพศชายร้อยละ 43.34 และเพศหญิงร้อยละ 56.66 โดยอยู่ในช่วงอายุ 31-50 ปีมากที่สุดคือร้อยละ 23.34 เท่ากันเมื่อจำแนกตามเพศและอายุพบว่า เพศหญิงเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชมากกว่าเพศชายร้อยละ 15.84 โดยอยู่ในช่วงอายุ 31-40 ปี และพบว่าส่วนใหญ่สมาชิกผู้ดูแลผู้ป่วยมีอายุมากกว่าผู้ป่วยจิตเวชร้อยละ 58.00 และมีสถานภาพการสมรสแล้วยังอยู่ด้วยกันเป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 88.00 มีระดับการศึกษาประถมศึกษาร้อยละ 61.34 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 40.07 และมีฐานะทางการเงินของครอบครัวอยู่ในระดับพอกินพอใช้ร้อยละ 34.67 นอกจากนี้ยังพบว่าส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวอยู่ระหว่าง 4-6 คน ร้อยละ 48.37 และมีจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่มีรายได้อยู่ในกลุ่ม 1-3 คน ร้อยละ 65.33 มีสัมพันธภาพอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 51.00 และ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเกี่ยวข้องเป็นบิดามารดาของผู้ป่วยจิตเวชร้อยละ 30.00 แต่พบว่าส่วนใหญ่ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวชเมื่ออยู่บ้านส่วนใหญ่เป็นพี่น้องร้อยละ 58.67 ผลการวิเคราะห์จากสมมุติฐาน 4 ข้อ คือ 1. บทบาทของสมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์ต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวช จากผลการศึกษาพบว่าบุตรเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชได้ดีที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 90.00 รองลงมาเป็นญาติสนิท และพี่น้อง ส่วนวิธีการดูแลผู้ป่วยจิตเวชดีที่สุด คือ การให้กำลังใจมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 84.14 รองลงมาเป็นการช่วยเหลือ การรับประทานอาหารร่วมกัน และการแก้ไขปัญหา และพบว่าการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในกลุ่มที่มีการดูแลไม่ดีนั้นไม่พบความแตกต่างในกลุ่มนี้สรุปว่าบทบาทของสมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์ต่อการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. สมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดและมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีภูมิหลังและสถานภาพในครอบครัวต่างกันจะมีผลต่อการดูแลผู้ป่วยแตกต่างกัน จากผลการศึกษาพบว่า สมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดและมีหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีภูมิหลังและสถานภาพในครอบครัวต่างกัน จะมีผลต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวชแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือ พบว่าในกลุ่มที่มีการดูแลผู้ป่วยจิตเวชดี อาชีพรับจ้างทั่วไปให้การดูแลได้ดีที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 91.0 ฐานะทางการเงินที่ผู้ดูแลผู้ป่วยได้ดีที่สุด คือ ระดับพอกินพอใช้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 89.2 จำนวนสมาชิกที่มีรายได้ในครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยได้ดีที่สุด จำนวน 1-3 คน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ85.2 และระดับการศึกษาที่ดูแลผู้ป่วยได้ดีที่สุด คือ ระดับอาชีวศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 85.0 ส่วนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในกลุ่มที่มีการดูแลไม่ดี พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน 3. สัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชต่างกัน จะมีผลต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวชแตกต่างกัน จากผลการศึกษาพบว่า สัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชที่ดี มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ดี ร้อยละ 40.00 และพบว่าสัมพันธภาพที่ไม่ดีของสมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ไม่ดี ร้อยละ 32.67 สรุปว่าสัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชต่างกัน จะมีผลต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวชแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการรักษาโรคทางจิตเวชของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชต่างกัน จะมีผลต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวชแตกต่างกัน จากผลการศึกษาพบว่า การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาโรคทางจิตเวชที่ดีของสมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ดี ร้อยละ 30.00 และพบว่าการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาโรคทางจิตเวชที่ไม่ดีร้อยละ 25.33 สรุปว่า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาโรคทางจิตเวชของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชต่างกัน จะมีผลต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวชแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ นักสุขภาพจิตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการจัดทำโครงการส่งเสริมสัมพันธภาพให้คำปรึกษาแนะนำแก่สมาชิกในครอบครัวและผู้ป่วยจิตเวช รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์งานสุขภาพจิตและจิตเวช เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกในครอบครัวได้ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบต่อผู้ป่วยจิตเวช นักสังคมสงเคราะห์จิตเวช ควรให้ความสำคัญกับสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยจิตเวชซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยจิตเวช โดยการจัดบอร์ดเพื่อเผยแพร่ข่าวสาร จัดทำกลุ่มระหว่างสมาชิกในครอบครัวกับผู้ป่วยจิตเวช เพื่อส่งเสริมและสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน รวมทั้งจัดทำแผนงานโครงการติดตามและประเมินผล เมื่อผู้ป่วยจิตเวชกลับไปอยู่บ้าน สำหรับเป็นแนวทางในการจัดบริการทางสังคมเพื่อช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัวและผู้ป่วยจิตเวชอย่างเหมาะสม

Keywords: family, psychiatry, ครอบครัว, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ญาติ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2534

Address: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 372340000034

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -

 

Preset Colors