02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: วชิระ เพ็งจันทร์, สมจิตต์ ลุประสงค์, จินตวีร์ เกษวงศ์, ศศิธร สายชาลี, ช่อลดา นวมงคลวัฒนา

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาเพื่อประเมินสื่อสุขภาพจิตศึกษาแผ่นพับพิมพ์สี

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย พ.ศ. 2537

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ (survey) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของเอกสารแผ่นพับพิมพ์สี และความครอบคลุมของการเผยแพร่แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ 6 จังหวัด เขต 7 ในปีงบประมาณ 2535 ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร มุกดาหาร นครพนมและสกลนคร กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือประชาชน จำนวน 277 คน และบุคลากรสาธารณสุข จำนวน 232 คน รวม 509 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบโควาต้า( Quota sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2535 รวม 3 เดือน โดยส่งแบบสอบถามให้เแก่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 700 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามคืนทั้งหมด ร้อยละ 72.7 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ สัดส่วน ร้อยละ และไคสแคร์ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นประชาชน ร้อยละ 54.4 และบุคลากรสาธารณสุข ร้อยละ 45.6 เพศหญิงร้อยละ 53.8 เพศชาย ร้อยละ 46.2 การศึกษาระดับประถมศึกษา มากที่สุด ร้อยละ 40.9 อาชีพรับราชการมากที่สุดร้อยละ 48.5 อายุระหว่าง 21 - 30 ปี มากที่สุด ร้อยละ 47.3 ผลการเผยแพร่เอกสารแผ่นพับพิมพ์สีจำนวน 11 เรื่อง เรื่องที่กลุ่มตัวอย่างได้รับมากที่สุดคือวัคซีนใจ ร้อยละ 56.4 ส่วนเรื่องที่ได้รับน้อยที่สุดคือของขวัญสำหรับครอบครัว ร้อยละ 23.2 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหรือสถานีอนามัยเป็นแหล่งเผยแพร่เอกสารแผ่นพับพิมพ์สีที่กลุ่มตัวอย่างได้รับมากที่สุด ร้อยละ 55.6 เมื่อกลุ่มตัวอย่างได้รับเอกสารแผ่นพับพิมพ์สีแล้ว การปฏิบัติตัวโดยการอ่านละเอียดเป็นบางเรื่อง มากที่สุด ร้อยละ 49.1 และมีความเห็นว่ามีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันปานกลาง มากที่สุด ร้อยละ 53.0 นอกจากนั้นผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า 1. ประเภทของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับการได้รับเอกสารแผ่นพับพิมพ์สีเรื่องด่วน ปวดศีรษะแก้ไขได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2. ประเภทของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับการได้รับเอกสารแผ่นพับพิมพ์สีจากโรงพยาบาล ชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3. ประเภทของกลุ่มตัวอย่าง มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวของกลุ่มตัวอย่างเมื่อได้รับเอกสารแผ่นพับพิมพ์สี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 4. ประเภทของกลุ่มตัวอย่าง มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเอกสารแผ่นพับพิมพ์สีว่ามีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันเพียงใด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 5. เพศ มีความสัมพันธ์กับการได้รับเอกสารแผ่นพับพิมพ์สีเรื่องการใช้ชีวิตคู่อย่างมีความสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 6. เพศ มีความสัมพันธ์กับการได้รับเอกสารแผ่นพับพิมพ์สีเรื่องบริการด้วยรอยยิ้ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 7. เพศ มีความสัมพันธ์กับการได้รับเอกสารแผ่นพับพิมพ์สีเรื่องเคล็ดลับปราบสามีเจ้าชู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 8. เพศ มีความสัมพันธ์กับการได้รับเอกสารแผ่นพับพิมพ์สีจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหรือสถานีอนามัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 9. เพศ มีความสัมพันธ์กับการได้รับเอกสารแผ่นพับพิมพ์สีจากโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

Keywords: community, media, psychiatry, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ชุมชน, สื่อ, สุขภาพจิตศึกษา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2537

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 319370000032

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -

 

Preset Colors