02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: ขนาน หัสศิริ, ถาวร รามโยธิน, สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, ปริทรรศ ศิลปกิจ, สมหมาย เลาหะจินดา, อัมพร หะยาจันทา

ชื่อเรื่อง/Title: สุขภาพจิตของเยาวชน , ศึกษาเกี่ยวกับภูมิหลังและภาวะสุขภาพจิตของนักเรียนที่เป็นคนเรียบร้อยในสายตาของครูอาจารย์

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย,พ.ศ. 2534

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ (1) เพื่อต้องการสำรวจจำนวนนักเรียนที่เรียบร้อยในสายตาของครู-อาจารย์ (2) เพื่อต้องการทราบภูมิหลังของนักศึกษาที่เรียบร้อย ซึ่งได้แก่เด็กได้รับการเลี้ยงดูมาจากครอบครัวแบบใด ระดับเชาว์ปัญญา ลักษณะบุคลิกภาพ ลักษณะการรับรู้ต่อสิ่งรอบตัว ลักษณะสัมพันธภาพกับผู้อื่น (3) เพื่อต้องการสำรวจระดับความเครียด (4) เพื่อต้องการทราบความแตกต่างของระดับความเครียดระหว่างเด็กนักเรียนที่เรียบร้อยกับเด็กนักเรียนทั่ว ๆ ไป วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในโรงเรียนระดับมัธยมปีที่ 3 ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 12 โรงเรียน จำนวนทั้งหมด 522 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบทดสอบทางจิตวิทยา จำนวน 7 ชุด คือ (1) แบบสอบถามเกี่ยวกับการดูแลเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งปรับปรุงมาจากแบบสอบถามของพ่อแม่ที่มีพรสวรรค์ในการเลี้ยงดูเด็ก จากการศึกษาวิจัยของ David Lewis (2) แบบทดสอบ Progressive Matrices (3) แบบทดสอบ Rorschach Test (4) แบบทดสอบบุคลิกภาพ SAD (Social Avoidance and Distressed Scale) และ FNE (Fear of Negative Evaluation Scale) ซึ่ง Watson และ Friend 1969 (ศิริเพิ่ม เชาวน์ศิลป์ หน้า 7) ได้สร้างขึ้นวัดบุคลิกภาพของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยโตรอนโต ประเทศคานาดา (5) แบบสอบถาม FIRO-B (Fundamental Interpersonal Relations Orientation:Behavior) แบบคำถามต่าง ๆที่ William C.schatz ได้ออกแบบขึ้นเพื่อวิเคราะห์เป็นบางอย่างที่คนเราแสดงต่อผู้อื่น (6) แบบทดสอบ The Maudley personality Inventory (MPI) (7) แบบทดสอบความเครียด Health Opinion Survey (HOS) ผลการวิจัย พบว่า ประการแรกเด็กนักเรียนที่เรียบร้อยมีร้อยละ 48.6% ประการที่สองเกี่ยวกับเรื่องภูมิหลัง พบว่าเด็กนักเรียนที่เรียบร้อย พ่อแม่ให้การเลี้ยงดูแลปฏิบัติต่อลูกอย่างมีคุณภาพ มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีบุคลิกภาพแบบชอบเข้าสังคม มีอารมณ์มั่นคงหนักแน่น การรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว จะรับรู้แต่ส่วนใหญ่ ๆ ประการที่สาม พ่อแม่เด็กนักเรียนที่เรียบร้อยมีระดับเชาวน์ปัญญาสูงกว่าเด็กนักเรียนทั่วไป แต่ลักษณะบุคลิกแบบชอบเข้าสังคม มีอารมณ์หนักแน่น การรับรู้สิ่งต่าง ๆ แบบมองรวมทั้งหมดลักษณะสัมพันธภาพที่แสดงออกต่อการยอมรับเข้าสังคม ต้องการให้บุคคลอื่นแสดงออกถึงการยอมรับเข้าร่วมสังคม การควบคุมการแสดงออกต่อผู้อื่นความต้องการอยู่ภายใต้การดูแลและควบคุมผู้อื่น การแสดงความรักและอาทรต่อตนเอง เด็กนักเรียนที่เรียบร้อยและเด็กนักเรียนทั่วไปมีลักษณะดังกล่าวไม่แตกต่างกัน ประการที่สี่ภาวะสุขภาพจิตของเด็กนักเรียนที่เรียบร้อย มีระดับความเครียดอยู่ในระดับปกติ มีความวิตกกังวลในการปรับตัวเข้ากับสังคมอยู่ในระดับปานกลางมีความวิตกกังวลในการที่ตนถูกประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ประการที่ห้า เด็กนักเรียนทั้งที่เรียบร้อยและเด็กนักเรียนทั่วไป มีภาวะสุขภาพจิตแตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ นักเรียนที่เรียบร้อยในสายตาของครู-อาจารย์ ได้ให้ครู-อาจารย์ใช้หลักเกณฑ์ของตนเองพิจารณาตัดสินว่าเด็กนักเรียนคนใดเป็นเด็กเรียบร้อย ผลปรากฎว่าภาวะสุขภาพจิตของเด็กนักเรียนที่เรียบร้อยไม่แตกต่างกับเด็กนักเรียนทั่วไป ทำให้ครู-อาจารย์ไม่ต้องกังวลต่อพฤติกรรมและภาวะสุขภาพจิตของเด็กนักเรียนที่เรียบร้อย มีเวลาเอาใจใส่เด็กที่มีปัญหาและพฤติกรรมที่รุนแรงแต่ฝ่ายเดียวและเป็นการแสดงให้เห็นว่าครู-อาจารย์มีความสามารถจำแนกเด็กที่เรียบร้อยกับเด็กเก็บตัวได้ เพราะคนทั่วไปมักเข้าใจว่าเด็กที่ชอบเก็บตัวไม่เข้าสังคม คือเด็กที่เรียบร้อย

Keywords: adolescence, adolescent, child, child psychiatry, community, personality, psychiatry, , psychology, stress, ความเครียด, เครียด, จิตวิทยา, จิตเวช, จิตเวชเด็ก, จิตเวชศาสตร์, ชุมชน, เด็ก, , นักเรียน, บุคลิกภาพ, โรงเรียน, วัยรุ่น

ปีที่เผยแพร่/Year: 2534

Address: โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 305340000009

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -

 

Preset Colors