02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: วรรณประภา ชลอกุล

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของบุคลากรทางการพยาบาลในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัยเรื่องการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของบุคลากรทางการพยาบาลในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น,พ.ศ.2539

รายละเอียด / Details:

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา(Descriptive Research) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของบุคลากรทางการพยาบาล ประกอบด้วยพยาบาลในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น วิธีการศึกษาจากประชากรที่เป็นบุคลาการทางการพยาบาล ประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค เจ้าหน้าที่พยาบาล พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ จำนวนทั้งหมด 158 คน แต่มีแบบสอบถามที่ส่งกลับคืน จำนวน 121 คน คิดเป็น 76.58 % ของประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วน ที่ 1 ข้อมูลทั่วไป เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ข้อมูลเกี่ยวข้องกับสุขภาพ จำนวนทั้งหมด 23 ข้อ ส่วนที่ 2 แบบวัดสุขภาพจิตของ CMI ของนายแพทย์ยรรยง ศุทธรัตน์ มีทั้งหมด 195 ข้อ ให้ตอบคำถามว่า ใช่ หรือไม่ใช่ในแต่ละคำถามคณะผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือฉบับร่าง เสร็จแล้วนำไปศึกษาความตรงตามเนื้อหา (content validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน จิตแพทย์ อาจารย์พยาบาล พยาบาลวิชาชีพ จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขและหาค่าความเชื่อมั่นในส่วนที่ 2 โดยให้บุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ตอบแบบสอบถามจำนวน 28 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.864 การเก็บรวบรวมข้อมูล ในระยะเวลา 2 เดือน (กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2539) การวิเคราะห์ข้อมูล โดยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC+ โดยสถิติดังนี้ 1. ข้อมูลทั่วไป โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิต โดยการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1. บุคลากรทางการพยาบาลที่ไม่มีการส่งเสริมสุขภาพ มีโอกาสมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่ากลุ่มที่ส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. บุคลากรทางการพยาบาลที่สูบบุหรี่มีโอกาสมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่ากลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสิติที่ระดับ .05 3. บุคลาการทางการพยาบาลในตึกแรกรับที่ปฏิบัติงานมากกว่า 6 เดือน มีโอกาสมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่ากลุ่มที่ปฏิบัติงานในตึกแรกรับน้อยกว่า 6 เดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. บุคลากรทางการพยาบาลที่มีเรื่องไม่สบายใจ มีโอกาสมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีปัญหา ไม่สบายใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Keywords: CMI, nurse, psychiatry, stress, ความเครียด, เครียด, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, พยาบาล

ปีที่เผยแพร่/Year: 2539

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 300390000011

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -

 

Preset Colors