02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: พิมพ์ทอง เจ๊กจันทึก

ชื่อเรื่อง/Title: ความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพ ภาวะเศรษฐกิจ ครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อมกับความเครียดและการเจ็บป่วยทางจิตของผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2540 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รายละเอียด / Details:

การวิจัยเรื่องความความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพ ภาวะเศรษฐกิจ ครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อมกับความเครียดและการเจ็บป่วยทางจิตของผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ สภาวะเศรษฐกิจ ครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อมกับความเครียดและการเจ็บป่วยทางจิตของผู้ป่วย โดยคณะผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์เพื่อประเมินสภาวะทางเศรษฐกิจ ครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย และใช้แบบทดสอบ MPI (Maudsley Personality Inventory) เพื่อประเมินลักษณะบุคลิกภาพ ใช้แบบทดสอบ HOS (Health Opinion Survey) เพื่อประเมินภาวะเครียด และใช้แบบทดสอบ SCL-90 (Symptom Checklist 90 Tests)เพื่อประเมินการเจ็บป่วยทางจิตของผู้ป่วย ศึกษาจากผู้ป่วยในและนอกที่มารับบริการตรวจรักษาที่ รพ.พระศรีมหาโพธิ์ ในระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2538 ที่มีอาการทางจิตสงบและสามารถสื่อสารได้ตามสภาพความเป็นจริง ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 148 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และทดสอบสมมติฐานของการวิจัยด้วย t-test และ F-test โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC* ผลการวิจัย 1. บุคลิกภาพด้าน Introversion – Extraversion ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีลักษณะบุคลิกภาพแบบ Normal ร้อยละ 73.2 รองลงมาเป็นบุคลิกภาพแบบ Introvert ร้อยละ 6.9 และ Extrovert ร้อยละ 9.9 ส่วน บุคลิกภาพด้าน Neuroticism and Stable ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีลักษณะบุคลิกภาพแบบ Neurotic ร้อยละ57.5 รองลงมามีลักษณะบุคลิกภาพแบบ Normal ร้อยละ 29.5 และ Stable ร้อยละ 13.0 2. ระดับความเครียดที่พบมากที่สุดคือ ระดับค่อนข้างสูง ร้อยละ 66.2 รองลงมามีความเครียดในระดับสูงมาก ร้อยละ 19.2 และระดับปกติ ร้อยละ 14.6 3. บุคลิกภาพด้าน Introversion – Extraversion สภาวะเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์กับความเครียดและการเจ็บป่วยทางจิตของผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .01 สภาวะครอบครัว บุคลิกภาพด้าน Neuroticism และ Stable มีความสัมพันธ์กับความเครียดและการเจ็บป่วยทางจิตของผู้ป่วย ณ ระดับ .05 แต่มีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยทางจิตอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ปัจจัยด้านอายุกับบุคลิกภาพด้าน Neuroticism – Stable สามารถพยากรณ์ความเครียดของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .001 โดยมีความสามารถพยากรณ์ความเครียดได้ ร้อยละ 45 และปัจจัยด้านภาวะทางครอบครัวกับบุคลิกภาพด้าน Neuroticism – Stable สามารถพยากรณ์การเจ็บป่วยทางจิตของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .001 โดยมีความสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 51.124

Keywords: family, HOS, MPI, personality, psychiatry, psychology, SCL-90, social, stress, ครอบครัว, ความเครียด, เครียด, จิตวิทยา, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, บุคลิกภาพ, สังคม

ปีที่เผยแพร่/Year: 2541

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 202410003007

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -

 

Preset Colors