02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: วีรพล นิธิพงศ์ และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: กลไกการเผชิญปัญหาและเงื่อนไขที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายของนักเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดราชบุรี

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 5, พ.ศ. 2542

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์/วิธีการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการเผชิญปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีสุขภาพจิตปกติ นักเรียนที่คิดฆ่าตัวตาย และนักเรียนที่พยายามฆ่าตัวตาย รวมถึงเงื่อนไขที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายของนักเรียนที่พยายามฆ่าตัวตาย และเงื่อนไขที่ทำให้นักเรียนเปลี่ยนใจ ไม่กระทำการฆ่าตัวตายของนักเรียนที่คิดฆ่าตัวตาย โดยทำการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ระดับลึก ตามแนวคำถามที่สร้างขึ้นเพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มนักเรียนสุขภาพจิตปกติ 32 คน แบ่งเป็นกลุ่ม 4 กลุ่ม ๆ ละ 8 คน และทำการสัมภาษณ์ระดับลึกกับนักเรียนคิดอยากตาย 14 คน และพยายามฆ่าตัวตาย 3 คน ผลที่ได้ พบว่านักเรียนทั้ง 3 กลุ่ม มีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งอารมณ์ (Emotional focused coping) มากกว่าการเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ปัญหา (Problem-focused coping) และนักเรียนแต่ละกลุ่มมีวิธีการแสดงออกเพื่อลดหรือขจัดภาวะทางอารมณ์ที่แตกต่างกัน คือ นักเรียนสุขภาพจิตปกติลดความตึงเครียดทางจิตใจ โดยการดูโทรทัศน์ ฟังเพลง เล่นกีฬา เล่นกับสัตว์เลี้ยงขับรถเที่ยว ปลูกต้นไม้ ปรึกษาเพื่อนสนิท พ่อแม่ หรือครู เป็นต้น ส่วนนักเรียนคิดฆ่าตัวตายเลือกใช้วิธีการหนีปัญหาพยายามลืมปัญหา โยนความผิดให้ผู้อื่น ไปวัด นั่งสมาธิ ปรึกษาเพื่อนสนิทสำหรับพยายามฆ่าตัวตายเผชิญปัญหาโดยการเก็บกดความรู้สึกความทุกข์ไว้ในใจโยนความผิดให้ผู้อื่น โดยคิดว่าใคร ๆ ก็ไม่รัก พยายามปลอบใจตนเองและพยายามยอมรับปัญหาแต่ปัญหาที่ประสบการณ์นั้นยังคงสะสมไว้ในใจตลอดเวลา สำหรับเงื่อนไขที่ทำให้นักเรียนเปลี่ยนใจไม่คิดฆ่าตัวตาย ได้แก่ การนึกถึงคุณค่าในตนเองที่มีต่อผู้อื่น ความกลัวการทรมานจากการฆ่าตัวตาย ความกลัวการตีตราจากสังคม และความเชื่อเรื่องการฆ่าตัวตายเป็นบาป ส่วนเงื่อนไขที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย คือเหตุการณ์รุนแรงในครอบครัว ได้แก่ พ่อหรือแม่ว่ากล่าวด้วยคำหยาบ ลงโทษตบตีอย่างรุนแรงและไล่ออกจากบ้าน สรุปและข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษาคือ ควรจัดการให้ความรู้เรื่องสัญญาณอันตรายและเงื่อนไขที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายของนักเรียนแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู/อาจารย์และผู้ปกครองและควรจัดให้มีการสำรวจสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมเป็นประจำทุกปี รวมถึงทำการเฝ้าระวังสุขภาพจิตแก่นักเรียนกลุ่มเสี่ยงอย่างใกล้ชิดและมีการจัดระบบส่งต่อ บริการปรึกษาของนักเรียน โดยมีการประสานงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข

Keywords: ฆ่าตัวตาย, นักเรียน พยายามฆ่าตัวตาย, กลไกการเผชิญปัญหา, จิตวิทยา, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, suicide, psychiatry, attempt suicide, student, psychology

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201420005161

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -

 

Preset Colors