02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: วัชนี หัตถพนม, จุรัญ อึ้งสำราญ, ละเอียด ปัญโญใหญ่, ธีราพร มณีนาถ, นลินี อนวัชมงคล, เพ็ญศิริ สมใจ, ศิริวรรณ เพ็ชรศรีกุล, ทิพากร ปัญโญใหญ่

ชื่อเรื่อง/Title: การประเมินผลโครงการผลิตและเผยแพร่สื่อในการรณรงค์สุขภาพจิตครอบครัวของกรมสุขภาพจิต ในปีงบประมาณ 2538

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 18-20 กันยายน 2539

รายละเอียด / Details:

กรมสุขภาพจิต ได้เริ่มโครงการรณรงค์สุขภาพจิตครอบครัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา แต่ยังไม่เคยมีการประเมินผลโครงการดังกล่าวเลย การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินผลโครงการผลิตและเผยแพร่สื่อในการรณรงค์ฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการในด้านบริบทปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานวิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยประเมินผลเชิงคุณภาพ (Qualitative Evaluation Research) ผู้ให้ข้อมูลหลักคือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและเผยแพร่สื่อในระดับกรมสุขภาพจิต จำนวน 5 คน เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบรับและเผยแพร่สื่อในระดับกรมสุขภาพจิต จำนวน 5 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขต 6 จำนวน 46 คน และตัวแทนของประชาชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขต 6 ทั้ง 7 จังหวัด โดยเก็บข้อมูลในระดับอำเภอเมืองรอบนอกอีก 1 อำเภอ ของแต่ละจังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกรายงานที่เกี่ยวข้อง แบบสังเกตและการสนทนากลุ่มใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล 6 เดือน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา 1. ในด้านบริบท พบว่า แผนการผลิตสื่อในการรณรงค์สุขภาพจิตครอบครัว ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามนโยบาย กรมสุขภาพจิตมีผลกระทบในด้านผลิตสื่อล่าช้า 2. ในด้านปัจจัยนำเข้า พบว่าผู้กำหนดเนื้อหาของสื่อเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมในการผลิตสื่อ แต่ไม่มีการทดสอบคุณลักษณะของสื่อว่ามีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ก่อนผลิต ใช้เวลาในการผลิตสื่อเฉลี่ย 123.67 วัน (S.D.65.21) 3. กระบวนการดำเนินงานพบว่ามีการส่งสื่อซ้ำซ้อน สื่อที่ส่งไปให้หน่วยงานในเขต 6 ร้อยละ 90.7อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ดีและหน่วยงานส่วนใหญ่ตอบว่าสื่อที่ได้รับไม่ทันวันที่ต้องการเผยแพร่ 4. ผลการดำเนินงาน พบว่า สื่อบางสื่อไม่เหมาะสมกับสังคมวัฒนธรรมไทย และขัดแย้งกับโครงการสายสัมพันธ์แม่ลูก จากการสังเกตุหน่วยงานของสาธารณสุขในเขต 6 พบว่ามีการเผยแพร่สื่อ เพียงร้อยละ 19.28 และจากการสนทนากลุ่มพบว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 74.5 และประชาชนทั่วไปร้อยละ 2.78 ที่เคยเห็นสื่อ วิจารณ์และสรุป จากผลการศึกษาที่ได้รับ ได้เสนอแนะถึงรูปแบบในการผลิตสื่อให้เหมาะสมกับสังคมวัฒนธรรมไทย และการเผยแพร่สื่อให้ครอบคลุมถึงมือประชาชน รวมทั้งควรมีการผลิตสื่อให้ตรงกับความนิยมของประชาชนผู้รับสื่อ

Keywords: การรณรงค์สุขภาพจิตครอบครัว, สุขภาพจิต, ครอบครัว, การผลิตและเผยแพร่สื่อ, กรมสุขภาพจิต, สุขภาพจิตครอบครัว

ปีที่เผยแพร่/Year: 2539

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201390002153

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -

 

Preset Colors