02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: สุพล รุจิรพิพัฒน์, วชิระ เพ็งจันทร์, สมจิตต์ ลุประสงค์, อัญชลี ศิลาเกษ, สุภาพร ประดับสมุทร, ตติยา ทุมแสน

ชื่อเรื่อง/Title: การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจสำหรับเด็กแรกเกิด ถึง 9 เดือน โดยการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่มารดา

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 1 10-11 สิงหาคม 2538

รายละเอียด / Details:

การวิจัย “การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจสำหรับเด็กแรกเกิด ถึง 9 เดือน โดยการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่มารดา” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมด้านการเลี้ยงดูบุตรระหว่างมารดาที่ได้รับสุขภาพจิตศึกษา กับมารดาที่ไม่ได้รับสุขภาพจิตศึกษา และศึกษาเปรียบเทียบผลที่มีต่อเด็ก ระหว่างมารดาที่ได้รับสุขภาพจิตศึกษากับมารดาที่ไม่ได้รับสุขภาพจิตศึกษา ซึ่งผลการวิจัยจะนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำสื่อในการเผยแพร่ความรู้ในการเลี้ยงดูเด็กวัยแรกเกิด ถึง 9 เดือน ต่อไป ประชากรที่ศึกษาคือมารดาที่มีบุตรคนแรก อายุไม่เกิน 3 เดือนและมีบุตรมารับบริการครั้งแรกในคลินิกเด็กดี ในหน่วยบริการของรัฐ จำนวน 5 แห่ง ในเขตอำเภอเมือง เขตกึ่งเมืองกึ่งชนบท และเขตชนบท ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบผสม (Multi Stage) ได้จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 82 ราย เป็นกลุ่มทดลอง 39 ราย กลุ่มควบคุม 43 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผ่นพับวัคซีนใจ จำนวน 4 เล่ม คู่มือประเมินพัฒนาการทารกแรกเกิด ถึง 9 เดือนแบบประเมินความรู้และพฤติกรรมด้านการเลี้ยงดูบุตรของมารดา และแบบประเมินพัฒนาการเด็กซึ่งเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นโดยคณะผู้วิจัยได้มีการหาค่าความเที่ยงตรง (Validity) และความเชื่อถือได้ (Reliabilty) เก็บข้อมูลโดยคณะนักวิจัย และผู้ช่วยวิจัยที่รับการชี้แจงรายละเอียด ในวิธีการเก็บข้อมูลอัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t - test ผลการวิจัยในส่วนของข้อมูลทั่วไป พบว่า อายุของมารดาทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 53.9 และ 60.5 ระดับการศึกษาทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่ มีการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 56.3 และ 58.1 อาชีพของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นแม่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 51.3 และ 44.2 การประเมินความรู้และพฤติกรรมของมารดา พบว่าก่อนการทดลองให้สุขภาพจิตศึกษา โดยแจกแผ่นพับนั้น ความรู้และพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรของมารดาทั้งกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันและหลังการทดลองให้สุขภาพจิตศึกษา โดยแจกแผ่นพับพบว่าความรู้และพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตร ไม่แตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมก่อนการทดลองและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่าง ระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ผลการประเมินพัฒนาการบุตรอายุ 2 เดือน ก่อนการทดลอง ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง และการประเมินพัฒนาการในช่วง 4 เดือน 6 เดือน และ 9 เดือนหลังการทดลอง ไม่พบว่ามีความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเช่นกัน ซึ่งผลจากการวิจัยจะเป็นข้อมูลประกอบการผลิตสื่อ เพื่อเผยแพร่สุขภาพจิตศึกษาต่อไป

Keywords: ้สุขภาพจิต, เด็ก, พฤติกรรม, สุขภาพจิตศึกษา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2538

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201380001044

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -

 

Preset Colors