02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: ไพรินทร์ สมุทรเสน

ชื่อเรื่อง/Title: การสำรวจสภาวะสุขภาพจิตนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดระยอง.

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 6 วันที่ 6-8 กันยายน 2543

รายละเอียด / Details:

การศึกษาสภาวะสุขภาพจิตนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยเพื่อการพัฒนา (Research for Development) เพื่อนำข้อมูลมาวางแผน แก้ไขปัญหาในเชิงคุณภาพ โดยการสำรวจแบบตัดขวาง (Cross-Sectional Research)มีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling)ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 800 คน ได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 727 ชุด เครื่องมือในการสำรวจประยุกต์แบบ CES-D (Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale) และแบบ CDI (Children’s Depression Inventory) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ ค่า Chi-square สรุปผลการศึกษา 1. ข้อมูลทั่วไป ด้านคุณลักษณะทางประชากรกลุ่มตัวอย่าง กำลังเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นปีที่ 3 และมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นปีที่ 6 มีผลการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นพ่อแม่ อยู่ในครอบครัวเดียวกัน ผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้างและมีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา 2. ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ พบว่าส่วนใหญ่ไม่เคยใช้สารเสพติดสำหรับกลุ่ม สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้สารเสพติดส่วนใหญ่ คือ บุหรี่ รองลงมาคือ ยาบ้า และยังคงใช้เป็นประจำจนถึงปัจจุบัน ร้อย 8.5 เหตุผลที่ใช้สารเสพติด คือ อยากลองและเพื่อนชวน 3. ข้อมูลปัญหาสภาวะสุขภาพจิต พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะปัญหาสุขภาพจิตในระดับต่ำร้อยละ 90.2 และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางประชากร ได้แก่ ระดับชั้นที่ศึกษาในปัจจุบัน (มัธยมศึกษาปีที่ 3 และปีที่ 6) และผลการเรียนมีความสัมพันธ์กับภาวะปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-valur‹0.05 4. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่าง 4.1 สาเหตุของความเครียด ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีสาเหตุจากการปรับตัวเข้ากับกลุ่มเพื่อน รองลงมาคือระบบการเรียนและการสอนในโรงเรียน ไม่มีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย ขัดแย้งกับครอบครัวและคนใกล้ชิด 4.2 วิธีแก้ไขความเครียด ส่วนใหญ่ใช้วิธี เล่นกีฬา ดูหนัง ฟังเพลง รองลงมา คือ พูดคุยกับเพื่อน/ คนใกล้ชิด และพูดคุยกับพ่อแม่ 4.3 บุคคลที่ช่วยแก้ไขความเครียด คนแรกคือ เพื่อน รองลงมาคือ พ่อ แม่ ญาติ พี่น้องและบุคคลใกล้ชิด 4.4 ความต้องการของกลุ่มตัวอย่างในการแก้ไขความเครียด - พ่อแม่ ผู้ปกครอง เข้าใจและเห็นใจ รวมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหา - โรงเรียน มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรและการให้คำปรึกษา - สถานบริการสาธารณสุข มีการให้คำปรึกษา การเยี่ยมบ้าน อัธยาศัยการให้บริการ - เพื่อนบ้าน และญาติ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สามัคคี เสียสละ การประยุกต์ผลการศึกษาไปใช้ เนื่องจากปัจจุบันสารเสพติดได้แพร่ระบาดสู่เยาวชนในสถานศึกษาอย่างรวดเร็วและรุนแรงในหลายพื้นที่ของจังหวัดระยอง และผลการศึกษาพบว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับกลุ่มเพื่อนและมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น อยากลอง ทำตามเพื่อน ซึ่งเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อใช้สารเสพติดได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับวัยรุ่นซึ่งเป็นเยาวชนในสถานศึกษาจึงได้จัดทำโครงการดังต่อไปนี้ โครงการค่ายทักษะชีวิต เพื่อป้องกันการใช้สารเสพติดในจังหวัดระยอง 1. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 240 คน 2. ระยะดำเนินการและพื้นที่ดำเนินการ จัดทำค่ายพักแรม (ค้างคืน) จำนวน 3 วัน ในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอแกลง อำเภอบ้านฉาง และอำเภอวังจันทร์ 3. ผลการดำเนินงาน กลุ่มเยาวชนในสถานศึกษาที่เข้าค่ายได้รับการปลูกฝัง ค่านิยม เจตคติและทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการใช้สารเสพติด ตลอดจนทักษะด้านความเป็นผู้นำการทำงานเป็นทีม ความอดทน เสียสละ ความรับผิดชอบต่อสังคม และการสร้างเครือข่าย “เพื่อนชวนเพื่อน” เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและยาเสพติด ทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน 4. การติดตามประเมินผล 4.1 ผล Pre-Test และ Post-Test กลุ่มเยาวชนที่เข้าค่าย 4.2 ประเมินพฤติกรรมเยาวชนหลังออกจากค่ายเป็นเวลาทุก 3 เดือน และ 6 เดือน 4.3 ประเมินผลการดำเนินเครือข่าย “เพื่อนช่วยเพื่อน”

Keywords: สุขภาพจิต, ภาวะสุขภาพจิต, เครียด, ความเครียด, วัยรุ่น, stress, mental health, adolescent

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: งานสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง กระทรวงสาธารณสุข

Code: 20050000223

ISSN/ISBN: 974-299-644-7

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -

 

Preset Colors