02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: เทวารัฐ จึงธนภัท

ชื่อเรื่อง/Title: ข่าวฆาตกรรมในสื่อออนไลน์.

แหล่งที่มา/Source: ร่วมมือ ร่วมพลัง : มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดี ในปี 2563 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. หน้า 107.

รายละเอียด / Details:

ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจะพบปรากฏการณ์การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว-สังคมทางสื่อมวลชนมากขึ้น ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆตามมามากมาย ทั้งจากมุมมองของภาครัฐ นักวิชาการหรือแม้แต่สื่อเอง ตลอดจนได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคมในช่วงแผลพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เกี่ยวกับการปฏิรูปสื่อทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและสังคมไปในทิศทางที่เหมาะสม ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้จึงสนใจศึกษารูปแบบการนำเสนอข่าวฆาตกรรมในสื่อออนไลน์ว่ามีแบบอย่างไรที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และการกระตุ้นความรู้สึกกลัว-วิตกกังวล. การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจข้อมูลย้อนหลังและวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนอข่าวฆาตกรรมในสื่อออนไลน์ที่มีผลกระทบต่อการเรียนรู้และการกระตุ้นความกลัว-วิตกกังวล โดยศึกษาวิเคราะห์แบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ 1.ส่วนที่เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือการก่อเหตุ โดยเก็บข้อมูลข่าวฆาตกรรมที่นำเสนอเนื้อหาที่ระบุขั้นตอน- วิธีการ-สาเหตุของการก่อเหตุ, ข่างที่ระบุเพียงเนื้อหาเกี่ยวกับสาเหตุหรือปัญหาในการก่อเหตุและข่าวที่ระบุขั้นตอน-วิธีการของการก่อเหตุแต่ไม่ระบุสาเหตุที่ชัดเจน 2.ส่วนที่เกี่ยวกับเหยื่อที่ถูกฆาตกรรม โดยเก็บข้อมูลข่าวฆาตกรรมที่นำเสนอเนื้อหาที่มีการบรรยายสภาพศพและระบุสาเหตุของการเสียชีวิต, ข่าวที่บรรยายสภาพศพแต่ไม่ได้ระบุสาเหตุของการเสียชีวิตและข่าวที่ไม่ได้บรรยายสภาพศพ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวฆาตกรรมจากสื่อข่าวสดออนไลน์ตั้งแต่เดือนมกราคม 2520-ธันวาคม 2550 จำนวนทั้งสิ้น 415 ข่าว ใช้แบบบันทึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง. ผลการศึกษาพบว่า จากจำนวนข่าวฆาตกรรมที่รวบรวมได้ทั้งหมด 415 ข่าว มีการนำเสนอเนื้อหาข่าวที่ระบุเกี่ยวกับขั้นตอน-วิธีการและสาเหตุของการก่อเหตุจำนวนทั้งสิ้น 380 ข่าว, ข่าวที่มีการเสนอเพียงปัญหาหรือสาเหตุที่นำไปสู่การฆาตกรรมจำนวนทั้งสิ้น 25 ข่าวและข่าวที่ระบุเกี่ยวกับขั้นตอน-วิธีการของการก่อเหตุแต่ไม่ระบุสาเหตุที่แน่ชัดมีจำนวนทั้งสิ้น 10 ข่าว ส่วนเนื้อหาเกี่ยวกับเหยื่อที่ถูกฆาตกรรมนั้นพบว่ามีการบรรยายสภาพศพถูกฆาตกรรมและระบุสาเหตุของการเสียชีวิตจำนวนทั้งสิ้น 324 ข่าว, ข่าวที่มีการบรรยายสภาพศพแต่ไม่ระบุสาเหตุของการเสียชีวิตมีจำนวนทั้งสิ้น 84 ข่าวและข่าวที่ไม่ระบุหรือบรรยายสภาพเหยื่อที่ถูกฆาตกรรมมีจำนวนทั้งสิ้น 7 ข่าว จะเห็นได้ว่าข่าวฆาตกรรมที่นำศึกษานั้นมักจะเน้นการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับรายละเอียดของเหตุการณ์การฆาตกรรมโดยเป็นเนื้อหาที่ระบุถึงขั้นตอน-วิธีการลงมือก่อเหตุและสาเหตุที่ทำให้ฆาตกรตัดสินใจก่อเหตุและการบรรยายสภาพศพที่ถูกฆาตกรรมมักจะนำเสนอในรายละเอียดของสภาพเหยื่อที่ถูกฆาตกรรม ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ล้วนมีผลกระทบต่อการเรียนรู้และการกระตุ้นความกลัว-วิตกกังวลได้. ผลการศึกษานี้จะใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกสื่อสำหรับผู้อ่านได้และใช้ศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องการเรียนรู้และ การกระตุ้นความกลัว-วิตกกังวลได้ ทำให้ผู้อ่านสามารถตัดสินใจเลือกสื่อได้ง่ายขึ้น ผู้ปกครองสามารถแนะนำลูกหลานได้ เป็นการป้องกันพฤติกรรมเลียนแบบความก้าวร้าวรุนแรงและหรือความกลัว-วิตกกังวลได้ รวมทั้งก่อให้เกิดความตระหนักถึงปัญหานี้ร่วมกันและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต.

Keywords: ฆาตกรรม, สื่อออนไลน์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

Code: 2010000127

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors